วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

Week5: あいづちを打とう!

     สวัสดีค่ะทุกคน! ห่างหายไปนานเนื่องจากเราป่วยค่ะ (ตอนที่พิมพ์อยู่นี่ก็ยังไม่หายดีค่ะ แง TvT) เพราะฉะนั้นเรื่องที่เราอัพในครั้งนี้จะค่อนข้างย้อนหลังไปสัปดาห์อยู่ค่ะ

     ย้อนกลับไปเมื่อเอ่อ...เอาเป็นว่าหลายสัปดาห์ก่อนค่ะ! อาจารย์เปิดประเด็นเรื่องあいづちค่ะ ว่ามีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง うん系、あー系、そう(ね、か)ที่ใช้กับเพื่อน คนสนิทกัน (กรณีอาจารย์หรือคนไม่สนิทด้วยก็จะเป็นはい系、エー系、そうです)

     ถ้าทุกคนยังจำกันได้ タスクก่อนหน้านี้ที่เราได้เล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง จะมีเขียนส่วนที่เพื่อนあいづちระหว่างที่เราเล่าเรื่อง...ก็อย่างที่ทุกคนคิดค่ะ อาจารย์ให้สังเกตあいづちที่เราใช้ตอนระหว่างฟังเพื่อนเล่าค่ะ!




     เพราะฉะนั้นเราก็จะมาวิเคราะห์あいづちที่เราใช้โดยไม่รู้ตัวกันนะคะ 555 ก็ดึงสคริปที่ถอดเสียงมาแล้วจากบล็อก OH! NIHONGO (ขายตรงบล็อกเพื่อนในตัว---)เพราะเจ้าของบล็อกเป็นคู่เราในการผลัดเล่าเรื่องค่ะ:) ก็จะได้ประมาณนี้ค่ะ

=+=+=+=+=+=+=+=


 はい、えーと、赤ちゃんがなんか(はい)犬と(犬と)プレイ?遊びたい。なんか犬と遊びたい。だから、(だから)赤ちゃんがこれ赤ちゃん。これ犬。(うんうん)なんか赤ちゃんが犬と遊びたい。(あー)だから、赤ちゃんが犬のところにちょっと行って、犬が最初は赤ちゃんのことを気づかない気づかなかったけど、赤ちゃんが来た時に、赤ちゃんに会って、びっくりして、なんか二人ともびっくりした。(なんというか犬が急に目が覚めた)そうそうそうそう。(あ、なんか最初は犬が寝ている?)多分(多分か 笑)多分犬が寝ている。最初は犬が寝ていた。なんか赤ちゃんが犬のところに行って(うんうんうん)二人はなんか二人とも(目線?)なんというか(目線が合って?)うん、目線が合ってびっくりした。でも、なんか犬があまり赤ちゃんと遊びたくないような感じで、犬が赤ちゃんのことを無視して(うんうんで?)でも、赤ちゃんが遊びたい 笑。(あー)犬と遊びたいから(うん)赤ちゃんがまた犬のところに歩いて歩いて行った。(うんうん)そうそうそう。(あれ、もう赤ちゃんは犬のところに着いたじゃないの?)もう着いたけど、犬が赤ちゃんと遊びたくない(無視?)無視して、別のところに(あ、別のところに行っちゃった?)行っちゃって、そうそうそう、だから、赤ちゃんが犬のところ...また歩いて行った(また、なっというか、犬のところに?)うん(うん。あとは?)笑 あとはあとは何か話そうかな。それで終わり。笑

 出典:https://ohjp-eng.blogspot.com/2019/03/blog-post.html


=+=+=+=+=+=+=+=

      ถ้าลองสังเกตดูคร่าว ๆ จะพบว่าเราใช้あいづちในระดับหนึ่งเลยค่ะ ซึ่งบอกตามตรงว่าเกินคาดมาก ใช้แบบไม่ได้คิดอะไร 5555

    หากลองวิเคราะห์ดู จะพบว่าตัวเองจะเป็น うん系 ค่ะ ตอนแรกคิดว่าเราน่าจะติดฟิลคนไทยที่ชอบพูด "อืม" แต่พอมานั่งคิด ๆ ดูส่วนตัวคิดว่าน่าจะติดนิสัยเพื่อนญี่ปุ่นที่ชอบพูดうん มากกว่าค่ะ ตอนแลกเปลี่ยน เราชอบคุยกับเพื่อนคนญี่ปุ่นแก๊งหนึ่งที่ชอบพูดあいづちแบบうんうんกันทั้งกลุ่ม ก็เลยน่าจะติดนิสัยพูดうんมาจากเพื่อนกลุ่มนี้ 

     ทั้งนี้ うんที่เราทำสีแดงไว้จะบ่งบอกว่า เออ เราเข้าใจที่อีกฝ่ายพูดนะ ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า理解表示型  ในทางตรงข้ามうんสีที่เราทำสีฟ้าไว้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด 会話 ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า 発話促進型 ค่ะ (เพิ่งรู้ว่ามีแบบนี้ด้วย---)



 อย่างน้องกระต่ายในภาพก็あいづちเป็นうんแบบ理解表示型ค่ะ!



     แล้วอีกจุดหนึ่งที่น่าจะเป็นจุดเด่นสำหรับเราคือตรงที่เราสีส้มเอาไว้ จะสังเกตได้ว่าจุดที่เราจะทวนคำพูดของอีกฝ่ายที่พูดออกมา ภาษาญีปุ่นจะเรียกสิ่งนี้ว่า オウム返し ค่ะ ซึ่งถือเป็น 発話促進型 แบบหนึ่งที่ช่วยทำให้การคุยนั้นไปได้อย่างราบรื่นค่ะ

     บอกตามตรงว่าไม่คิดว่าตัวเองจะ あいづち ได้เยอะขนาดนี้ งงสุดคือ あいづちแบบオウム返しได้ตั้ง 3 รอบ เพราะตอนขึ้นปี2ใหม่ ๆ เราโดนอาจารย์ติในคาบคอนเวอร์ว่า เราไม่あいづちระหว่างโรลเพลย์กับเพื่อนเลยค่ะ 55555555555/น้ำตาไหล

     แต่ส่วนตัวคิดว่าเราได้อิทธิพลมาจากคาบคอนเวอร์ตอนปี2จริงๆนะคะ ว่าอาจารย์ทำให้เรา気づきว่าเราต้องあいづちให้มากกว่านี้ ประจวบกับเราเริ่มติ่งนักพากย์หนักขึ้น เราเลยมีโอกาสได้ฟังพวกラジオหรือ番組ที่พวกนักพากย์จัดมากขึ้น แล้วลองสังเกตว่าพวกเขาあいづちกันยังไง ถ้ามีโอกาสก็ลองเอาไปประยุกต์ใช้ตามโอกาสค่ะ ถ้าให้ยกตัวอย่างที่ช่วงนี้ฟัง ก็จะเป็นอันนี้ค่ะ!


น้ำตาไหลกับความมีซับให้อ่านค่ะ 
จะได้มาเก็บตกจุดที่ฟังไม่ทันได้ ;-;(เมื่อก่อนยังไม่มีอะไรแบบนี้ ฮือ) 


      อันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของラジオจากอนิเมเรื่องブレンド・Sค่ะ จัดโดยนักพากย์2หนุ่ม(?) 鈴木達央(すずきたつひさ) ซึ่งจะแทนด้วยรูปหนุ่มหัวเขียว กับ 前野智昭(まえのともあきเมนเราเองค่ะซึ่งจะแทนด้วยรูปหนุ่มหัวทองค่ะ 

      ถ้าลองเปิดดู จะเห็นว่าแค่ใน2นาทีนิด ๆ จะเห็นあいづちจำนวนมากกกกกกกกกกกกกกกก ที่เห็นหลัก ๆ ก็จะเป็น うん系ผสมกับ はい系 อาจจะมีพวกตระกูล そうね มาบ้างด้วย

  ที่น่าสนใจคือช่วงแรก ๆ ที่ทั้ง2คนพูดถึงชื่อคนที่เขียนข้อความมาหา ซึ่งเราแปะไว้ตรงนี้แล้วค่ะ!


     前野「ぶっかけ放題さんから頂きました」
     鈴木 「はい」
     前野「笑」
     鈴木 「ぶっかけ放題さん
     前野「ぶっかけ放題さんから頂きました」 
     鈴木 「いや~、どうもどうも
     前野「はい」 
     鈴木 「そういうのも、嫌いじゃないよ
     前野「嫌いじゃないですよ


     จุดแรกที่อยากให้ทุกคนลองสังเกตดูคือตรงไฮไลต์สีส้มอ่อนค่ะ จะสังเกตว่าเสียงหัวเราะก็ถือเป็น あいづち เหมือนกันค่ะ แถมเพิ่มสีสันในการจัดรายการให้盛り上がるมากขึ้นด้วย (อันนี้ได้เรียนรู้มาจากในห้องเรียนแล้วแบบ เอ๊ะ จริงหรอ พอมาสังเกตของラジオอันนี้ทีคือบางอ้อเลยค่ะ 55555) แล้วจะสังเกตว่าオウム返し กันรัวมาก ๆ ทั้งぶっかけ放題さん、嫌いじゃない แล้วส่วนมากจะオウム返しกันตรงที่ดูแปลก ๆ หรือดูเป็นเนื้อหาพีค ๆ ณ ตอนที่คุยกัน

     พอมานั่งฟังแล้ววิเคราะห์แบบละเอียดก็รู้สึกว่า ถึงเมื่อก่อนจะสกิลฟังแย่มาก แต่แค่ฟังพวกนักพากย์คุยกันแล้วมีあいづちโต้ตอบกลับรัว ๆ +オウム返しด้วย ก็สามารถรู้สึกสนุก+ฮาได้โดยไม่ต้องเข้าใจความหมาย(ทั้งหมด)ค่ะ 55555555555555 
      
     แล้วผลพวงจากการเสพพวกนี้มาก ๆ หรือถ้าเรียกให้ดูทางการกว่านี้คือเรา input การあいづちผ่านจากการฟังラジオพวกนี้แล้วต้องพยายามหาโอกาสมา output ก็คือนำวิธีあいづちที่ได้เรียนรู้จากการฟังพวกนี้มาลองใช้จริง พอได้ใช้ระดับนึง ก็จะ 自動化 แล้วพูดได้ไหลลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะオウム返し เราใช้ได้เป็นธรรมชาติมากขึ้นเพราะฟังพวกนี้จริง ๆ ค่ะ คาบเวอร์ตอนปี3ที่เราต้องあいづち เราก็ลองนึกถึงที่เคยฟัง ๆ แล้วลองオウム返しตรงที่เพื่อนเล่าแล้วพีค ๆ ดู อาจารย์ที่เดินผ่านมาฟังก็ชมว่าあいづちดีมากแหละค่ะ!  



      สำหรับเราถือว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการใช้ภาษาญี่ปุ่นอย่างมากเลยค่ะ ยิ่งมาเห็นว่าถึงผ่านไปแล้วเกือบ2ปี การใช้あいづちของเรายังเยอะอยู่ ไม่ได้น้อยลงคือน้ำตาแทบไหลค่ะ ฮืออ 
     แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราพอใจกับระดับあいづちที่เราใช้อยู่ตอนนี้นะคะ ก็ต้องปรับให้มันหลากหลายขึ้น อย่างกรณีเราあいづちให้เพื่อนรอบที่ผ่านมา ก็รู้สึกว่าต้องพยายามใช้พวกへーมากกว่านี้ เพราะปกติแทบไม่ใช้เลย ;-; แล้วถ้ามีจังหวะให้พูด ก็ควรใช้ตระกูลそうねให้มากกว่านี้ค่ะ
 
      ถ้าให้เราสรุปสิ่งที่ได้จากเรียนรู้จากการศึกษาあいづちรอบนี้คือ

      1. あいづち ไม่ได้มีไว้แค่ 理解表示 มีไว้ 発話促進 ด้วย
  2. オウム返し ช่วยกระตุ้นบทสนทนาได้ดี ควรพยายามใช้
      *3. การหัวเราะ ก็ถือเป็น あいづち ประเภทหนึ่งค่ะ (ความรู้ใหม่สำหรับเราเลยค่ะ TvT)
      4.การลองสังเกตการใช้あいづちของคนญี่ปุ่น จะช่วยพัฒนาあいづちของเราได้ดีขึ้น แต่ที่สำคัญคือเมื่อinputแล้วต้องลองoutputออกมาใช้ด้วย

      ก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำหรับคนเรียนภาษาญี่ปุ่น เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่คนไทยจะใช้กันเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องพยายามเรียนรู้ว่าจะใช้ยังไงให้มันออกมาเป็นธรรมชาติที่สุดค่ะ!

      หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่แวะเวียนเข้ามาอ่านนะคะ วันนี้ขอลาไปด้วยน้องหมาที่จำไม่ได้ว่าเอามาจากไหนละกันค่ะ 5555 วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ!  



4 ความคิดเห็น:

  1. ดูจากที่พี่คุยกับพี่อิง พี่เป็นคนที่ใช้ あいづち ได้หลากหลายมากเลยค่ะ รวมถึงเข้าได้ถูกจังหวะมากด้วย อยากทำได้บ้างเลย (หรือต้องไปติ่งนักพากย์บ้าง?? 5555555) อันนี้ถามนะคะ ตอนคุยกับพี่อิงนี่ 意識しながら หรือ 無意識に อะคะ ถ้าอย่างหลังคือเก่งมากกกก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แรกๆก็意識นะว่าต้องพูดあいづちแต่ฟังอิงเล่าไปซักพักก็無意識にใช้เองอ่ะ เพราะของพวกนี้มันบอกไม่ได้ว่ามันต้องใช้ตอนไหน มันขึ้นอยู่กับจังหวะที่อีกฝ่ายเล่าด้วย (ปล.ถ้าหนูเข้าด้อมนักพากย์ จะเป็นอะไรที่บ้าบอคอแตกกว่าด้อมไอดอลอีกลูก อย่ามาเลย 555555555)

      ลบ
  2. あいづち ที่หลากหลายทำให้พี่เป็นคู่สนทนาที่คุยด้วยแล้วอยากคุยอีก ทามมิ่งดี แถมไม่ซ้ำด้วยยยย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พี่ว่าช่วงท้ายๆพี่うんうんรัวมากเลยนะ 5555

      ลบ