วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

Self-Study4:どうやって日本語で上手く話せるようになるだろう...

     สวัสดีค่ะทุกคน! กลับมาเจอกันอีกครั้งในช่วงSelf-Studyนะคะ! พอดีเพิ่งสอนพิเศษน้องคนหนึ่งแล้วนึกถึงประเด็นเกี่ยวกับหลักที่เรียนไปได้เลยแวะมาอัพค่ะ เย่!

     เรื่องมีอยู่ว่า น้องที่เราสอนคนหนึ่งอยากฝึกพูดค่ะ แต่ก็ไม่กล้าพูดเพราะไม่ค่อยได้ใช้+กลัวเรื่องสำเนียง เราเลยแก้โดยเอาหนังสือที่(นาน ๆ)เราใช้ฝึกสำเนียงทีคือเล่มนี้ค่ะ!



Shadowing 日本語を話そう!
(出典:https://7net.omni7.jp/detail/1106364582)


     วิธีที่เรานำมาใช้สอนหลัก ๆ ก็คือตามชื่อหนังสือเลย นั่นก็คือการ Shadowing ค่ะ ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ คือการออกเสียงตามเสียงในแผ่นให้เป๊ะที่สุด บอกตามตรงว่าเราก็ไม่ได้ทำได้ดีหรอกค่ะ แต่หลังจากที่เราผิดกระจุยกระจายตอนสอบพูดアクセントในวิชาภาษาศาสตร์ญี่ปุ่นเบื้องต้น(กระจุยชนิดที่พาร์ทออกเสียงคะแนนเต็ม10ได้มาแค่3...) ทำให้เรา気づきเรื่องアクセントพอสมควร เพราะรู้สึกว่าออกสำเนียงผิดทีชีวิตเปลี่ยนมาก 5555 เล่มนี้ก็ค่อนข้างช่วยแก้สำเนียงเราระดับนึงเลยค่ะ (ซีรีย์นี้แบ่งเป็นระดับต้น-กลาง กับ กลาง-สูงค่ะ ตอนนี้เราฝึกใหม่ตั้งแต่ต้นอยู่เพื่อแก้สำเนียงที่ผิดแบบไม่น่าให้อภัยในบางจุดอยู่ 555)

    ตอนที่เราสอนเราก็จะพิมพ์ชีทให้น้องคะ เพราะในเล่ม เราจะขีด ๆ เมโมของเราไว้ ไม่อยากให้น้องเห็น



  
     หน้าตาประมาณนี้ค่ะ มีแปลเป็นภาษาเวียดนาม ไทย อินโดอยู่ด้านขวามือเพื่อใช้ศึกษาโครงสร้างประโยคญี่ปุ่นที่ฝึกพูดได้ (เอ๊ะ น่าจะประยุกต์เอามาใช้สอน focus on form อยู่แหะ แบบให้น้องพูด ๆ ไปก่อนค่อยมาดูเรื่องโครงสร้างแกรมม่าในประโยคเพื่อให้น้องเอาไปใช้จริงได้---)

      ตอนที่สอนแน่นอนว่าจะต้องเจอปัญหาน้องออกสำเนียงผิดแน่นอนค่ะ ผิดประเภทจะต้องออกเสียงแบบ 頭高型 แต่น้องออกเป็น 平板型 ที่พีคคือเจอน้องออกสำเนียงแบบไทยจ๋ามาก ๆ เช่น スペイン น้องออกเป็น"สเปน"เลยค่ะ

 ตอนสอนคือหน้านิ่งมาก แต่ในสมองคือเครียดตัวสั่นเหมือนสตก.ไปแว่บนึงเลย แง

     ก็เลยนึกถึงที่อาจารย์สอนเรื่อง インプット強化 ค่ะ พอน้องพูดมาทั้งประโยค ถ้าตรงไหนน้องออกเสียงผิด เราจะพูดคำที่น้องผิดด้วยアクセントที่ถูกต้อง แล้วให้น้องพูดตามเราจนน้องพูดถูก เราก็จะให้น้องพูดทั้งประโยคใหม่อีกรอบค่ะ ถ้าถูกหมด ก็ไปข้อถัดไป อย่างตอนสอนคำว่า スペイン เราเน้นทีละตัวเลยว่าス・ぺ・イン ให้น้องออกเสียงทีละพยางค์เลย พอพูดได้ค่อยจับมาพูดเป็นคำ หลังจากสอนเสร็จก็จะฟีดแบคว่าข้อไหนควรระวังตรงไหน น้องก็จะ気づきตัวที่พลาดไปมากขึ้นค่ะ

    โดยปกติเราจะไม่ให้น้องกลับมาอ่านประโยคเดิม ๆ นะคะ แต่เราจะชอบคุยเล่นเรื่องคำที่ออกเสียงผิดไปเลยมากกว่าค่ะ อย่างเช่น 

     เรา "เอ้อ คำที่พูดผิดเมื่อวีคก่อนเป็นไงมั้ง?"  
     น้อง "スペイン(สำเนียงถูกต้อง)หรอพี่?"

     คือน่าตกใจว่าเพิ่งสอนไป แต่น้องแก้สำเนียงได้เป๊ะมาก แง แถมอาจจะมองได้อีกว่าการที่น้องพูดออกมาได้แบบไม่ต้องคิดน่าจะเป็น自動化ของน้องที่สอนด้วยค่ะ (ปลาบปลื้มใจที่เห็นพัฒนาการของน้องค่ะ ฮือ T_T)

     หวังว่าเทคนิคเล็ก ๆ นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่แวะเวียนเข้ามาอ่านนะคะ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

6 ความคิดเห็น:

  1. ในบทความนี้มี keywords ที่เราเรียนตั้งสามคำแน่ะ มีคำว่า 気づき focus on form และ 自動化 แสดงว่ามีความตระหนักในเนื้อหาและพยายามนำมาใช้ปรับปรุงการสอนของตนเองมากเลย

    ตอบลบ
  2. ผมเคยได้ยินมาว่า ขั้นกว่าของ shadowing คือ พูดมันเป็นภาษาแม่ตัวเอง (การล่ามสดไรงี้มั้ง) ใจนึงถ้าว่างๆก็อยากฝึกมากเลยนะ ดูจะเอาไปหาเงินได้ อีกใจก็คิดว่า เออ มีสกิลนี้นิดหน่อย เอาไว้ดำน้ำเนื้อร้องได้สวยๆก็พอ
    แงงงงงง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. โห ขั้นกว่าคือโหดกว่าจริง น่าจะฝึกยากอยู่เหมือนกันนะ แต่ถ้าคิดว่าเอาไปฝึกดำน้ำเนื้อร้องคงอยากฝึกอยู่นะ 55555

      ลบ
  3. เอาจริง ๆ แค่ shadowing ในคาบคอนเวอร์ก็คือไม่ทันแล้วววว นับถือพี่มาก ๆ ในการซื้อหนังสือมาฝึก (หรือน้องขี้เกียจเอง? 5555) แล้วก็นับถือมากที่สอนการพูดไรงี้ คือน้องเป็นแบบ ตัวเองน่ะพูดได้ แต่อย่าให้สอนคนอื่นพูดเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เอาจริง ๆ นะ พี่พูดญี่ปุ่นไม่เก่ง พี่ลำบากใจที่จะสอนเรื่องพูดพอสมควร แต่ว่าเพื่อลูกศิษย์ พี่ก็ต้องก้าวออกมาจากคอมฟอร์ทตัวเอง แล้วหาวิธีสอนยังไงก็ได้ให้ลูกศิษย์พูดได้อ่ะ เคสพี่ก็ฟิลอาจารย์โตไปพร้อมกับลูกศิษย์น่ะ

      ลบ
  4. shadowing เป็นวิธีที่ชอบมากเลย เราว่ามันได้ผลมากจริงๆนะ ส่วนตัวฝึกจากพูดตามอนิเมะตลอดเลย 5555

    ตอบลบ