วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2562

Special: 敬語は意外と難しくない?

     สวัสดีค่ะ! ตอนนี้เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ พร้อมทั้งอากาศร้อนมาก พยายามดื่มน้ำเยอะ ๆ และอยู่ในที่ร่มเพื่อไม่ให้เป็นลมกันนะคะ! 

     จะสังเกตได้ว่าหัวข้อครั้งนี้เราใช้ชื่อSpecialค่ะ เพราะเป็นหัวข้อบรรยายพิเศษในห้อง!!
กดำไ
     ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์อุเอฮาระจากมหาวิทยาลัยโทโฮคุมาบรรยายเรื่อง敬語ที่แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็ใช้ไม่ค่อยถูก แต่อาจารย์สามารถบรรยายได้อย่างสนุกสนานและเข้าใจหลักของ敬語ได้มากกว่าเมื่อก่อนมาก ๆเลยค่ะ!

     สมัยเริ่มเรียน敬語ใหม่ ๆ อาจารย์ที่สอนเราจะเน้นแค่พวกที่ต้องผันรูปพิเศษ เช่น  来ます แบบ尊敬語จะเป็นいらっしゃいます ส่วนแบบ謙譲語จะเป็น参る พวกお~になりますหรือお~しますจะไม่ค่อยเน้นเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นตอนสอบpat7.3คือมึนมาก พอเจอお~になりますหรือお~しますทีคือเลือกตอบตามสัญชาตญาณตัวเองซะเยอะเลยค่ะ...



สีหน้าของเราตอนจะต้องใช้敬語แต่ละทีค่ะ TvT


     ซึ่งประเด็นนี้ อาจารย์อุเอฮาระได้มีอธิบายจุดสังเกตง่าย ๆ อย่างหนึ่งคือ 「私」ค่ะ 


     尊敬語 v.ยกย่องการกระทำของอีกฝ่าย เป็นv.ไม่ได้เกี่ยวกับตัวเรา = ใช้私ไม่ได้
     謙譲語 v.ถ่อมการกระทำของตัวเองเพื่อยกย่องอีกฝ่าย v.เกี่ยวกับเราเต็ม ๆ = ใช้私ได้! 


     ตอนอาจารย์อุเอฮาระอธิบายเรื่องนี้ คืออุทานว่า "เออว่ะ จริงด้วย!!!" ในใจดังมากค่ะ 55555 เพราะจริง ๆ ก็เป็นอีกเรื่องที่สัมผัสได้อยู่เวลาใช้敬語อยู่ว่า พอเป็น謙譲語จะพูด私ค่อนข้างบ่อย ในขณะที่尊敬語คือไม่พูด私เลย เช่น เวลาแนะนำตัวเอง 私はマーイと申します。ก็จะเห็นว่ามี私ใช้คู่กับ謙譲語 ในขณะเดียวกัน ถ้าให้ยกตัวอย่างที่ทุกคนน่าจะเห็นภาพง่าย ๆ ก็กรณีร้านอาหารค่ะ ก็จะได้ยินพนักงานพูดกับลูกค้าว่า どうぞ、召し上がってください ก็จะชัดเจนว่าไม่มี私 แล้วใช้เป็น尊敬語ค่ะ!
     
     แต่ว่ายังไม่จบเท่านั้น อาจารย์อุเอฮาระได้แจกแจงเรื่องรูปร่างหน้าตาที่มาของ敬語พวกお~になりますกับお~しますให้ดูด้วย ก็ตามตารางเลยค่ะ!



普通形
丁寧形
尊敬形
お~になる
お~になります
基本形
~る
~ます
謙譲形
お~する
お~します
 


     รูป基本形คือรูปพื้นฐานที่พวกเราคุ้นชินกันดี พอทำเป็น普通形 ก็คือ~る ส่วน丁寧形ก็คือます เพราะฉะนั้นถ้าเอา尊敬語หรือ謙譲語มาผันเป็น 普通形หรือ丁寧形ก็จะได้หน้าตาตามตารางข้างต้นค่ะ

     แต่พอมาถึงจุดนี้ ทุกคนคงรู้สึก เอ๊ะ แจกแจงรูปร่างหน้าตาแล้วยังไงต่อหรอ? เกี่ยวกับการใช้ยังไง? อยากจะบอกว่าเกี่ยวมากค่ะ ถ้าอธิบายตัวอักษรอย่างเดียว กลัวทุกคนจะไม่เข้าใจอยากจะให้ทุกคนดูรูปภาพด้านล่างก่อนค่ะ จะได้ทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น!



 กลัวโดนเรื่องลิขสิทธิ์เลยวาดใหม่เองเลยค่ะ てへ



     ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ คือ 敬語จะมีสเต็ปการผัน2ขั้นค่ะ ได้แก่

     1.พิจารณา素材敬語 จะเป็นส่วนที่แสดงความสุภาพต่อคนที่เราพูดถึงในหัวข้อสนทนาค่ะ กรณีเราจะพูดถึงอาจารย์A เราจะผันเป็น尊敬形หรือ謙譲形นั่นเราต้องนึกถึงจุดยืนเองว่าเราเป็นใคร สมมติว่าเราเป็นนักเรียน ก็ต้องผันสิ่งที่พูดถึงอาจารย์Aเป็น 尊敬形 ค่ะ เช่น
ะพ
     A先生が手帳をくれますA先生が手帳をくださいます 
  
     2.พิจารณา対者敬語 จะเป็นสเต็ปต่อจาก1. จะเป็นส่วนที่แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนาค่ะ ผันได้2แบบคือ丁寧形หรือ普通形ค่ะ เช่น เราพูดถึงอาจารย์Aให้เพื่อนฟัง จะต้องผันเป็น普通形

     A先生が手帳をくださいますA先生が手帳をくださ



     เรื่องน่ารู้อีกอย่างคือ敬語ไม่ได้มีแค่3แบบอย่างที่ทุกคนรู้ แต่แบ่งได้อีก2แบบ คือ

     1.美化語 การเติมおหรือごหน้าคำ เพื่อให้คำดูสง่าขึ้น      
     2.丁重語 ถือเป็น敬語ที่แตกย่อยออกมาจาก謙譲語ก็ได้ค่ะ แต่ลักษณะเด่นของ敬語ตัวนี้คือ ใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา+ใช้รูป丁寧形เสมอ อย่างเช่น ござる 参る と申す จะใช้รูป普通形ไม่ได้ค่ะ เพราะอย่างที่อธิบายไปว่าเราต้องแสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา จึงใช้เป็นรูป普通形ไม่ได้ จริงอยู่ว่าถ้าดูอนิเมย้อนยุค จะเห็นพวกซามูไรพูดござるหรือ参るกัน แต่กรณีนี้ถือเป็นภาษาโบราณค่ะ ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าเผลอพูดกันเชียวนะคะ!



คำพูดสมัยโบราณแค่ไหน ดูทรงผมตัวละครในภาพได้เลยค่ะ 555

 
     ทั้งนี้ 敬語มีข้อควรระวังอยู่2จุดค่ะ
       1.ถ้ามีV.ผันแบบพิเศษอยู่แล้ว จะผันพวก お~しますไม่ได้ค่ะ เช่น เราจะทำ知りますเป็นお知りしていますไม่ได้ ที่ถูกต้องจะเป็น 存じますค่ะ

     2.V.ที่จะทำเป็น謙譲語ได้ จะต้องเป็นV.ที่ต้องคู่สนทนา ถ้าไม่ต้องมีคู่สนทนาก็ได้ จะผันเป็น謙譲語ไม่ได้!! เช่น นายAเดิน การเดินถือเป็นV.ที่ถึงไม่ต้องมีคู่สนทนาก็ทำได้ เพราะฉะนั้นจะผัน歩きますเป็นお歩きしますไม่ได้ค่ะ


     ที่พีคสำหรับ敬語คือ ปัจจุบัน敬語หลายตัวจากที่ใช้ผิดกฎกันมานาน ทำไปทำมากลายเป็นถูกกฎก็มีค่ะ!!! เช่น お待ちしておりますถ้าดูเผิน ๆ คือน่าจะเป็น二重敬語เพราะผัน待ちます→お待ちしています→お待ちしております ซึ่งน่าจะผิดหลักเต็ม ๆ แต่ทำไมที่ญี่ปุ่นคนถึงใช้กันแพร่หลายมาก(และเราก็ใช้ค่ะ เพราะสมัยทำไบต์เทนโจบังคับให้พูดแบบนี้) ก็เลยถามอาจารย์อุเอฮาระว่าจริง ๆ ถูกมั้ยคะ? 

     อาจารย์อุเอฮาระก็บอกว่า セーフ เพราะถ้ามองแยกออกเป็น2คำคือ お待ちして กับ おります แล้วนำ2คำนี้มารวมกันก็ถือว่าผันถูกหลัก ไม่เป็น二重敬語ค่ะ!!

     เดิมทีเราคิดว่า敬語เป็นอะไรที่ยากมาก ไม่มีทางจะเป็นมาสเตอร์ด้านนี้ได้แน่ ๆ แต่พอมานั่งฟังบรรยายของอาจารย์อุเอฮาระก็รู้สึกว่า เออ มันก็ไม่ได้ยากนะ ถ้าเราเก็ตคอนเซ็ปมันจริง ๆ ซึ่งวันนี้ลองสรุปคอนเซปคร่าว ๆ ตามที่ตัวเองเข้าใจดูก็ได้ประมาณนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่านนะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ!   

4 ความคิดเห็น:

  1. อธิบายเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย แถมมีภาพประกอบที่วาดเองด้วย อยากให้อ.เขาอ่านภาษาไทยได้จัง จะได้รู้ว่ามีคนสรุปได้ดีแบบนี้

    ตอบลบ
  2. ชอบการวาดรูปประกอบเองมากค่ะ อยากทำบ้างแต่วาดกากเหลือเกิน ฮือ
    แล้วก็ชอบการแปะเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่พี่ถามอ.อุเอะฮาระเพิ่มไปในห้อง อันนั้นคือพอพี่พูดขึ้นมาปุ๊บก็สงสัยตามไปเลยอะ

    ตอบลบ
  3. ชอบที่พี่อธิบายมาก ยิ่งมีรูป มีตารางแล้วเข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลย ฮืออ เป็นคนที่ทำอะไรแบบนั้นไม่ได้(´;ω;`)

    ตอบลบ
  4. ทั้งตารางทั้งรูป ช่วยให้สนใจอยากอ่านต่อมากๆ ครับ
    อะ ผมเองก็เป็นคนเผลอใช้คำโบราณ เพราะติดเมะมากไปหน่อย wwww

    ตอบลบ