วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

Week4: 目に浮かぶ描写って難しいかな?

     สวัสดีค่ะ! กลับมาเจออีกครั้งกับタスク4 นั่นก็คือ 目に浮かぶ描写ค่ะ รอบนี้จะเป็นกิจกรรมจับคู่กับเพื่อนแล้วผลัดกันบรรยายการ์ตูน4ช่องโดยที่เพื่อนไม่เห็นรูปที่เราต้องบรรยายค่ะ ส่วนรูปที่เราได้คือรูปนี้ค่ะ




 出典:http://miintominto.blogspot.com/2017/03/blog-post_16.html

 

     ขอเรียกการ์ตูนเรื่องนี้อย่างย่อว่า 外国人 นะคะ ตอนที่พูดก็มีอัดเสียงเอาไว้ พอลองถอดเสียงออกมาก็ได้ประมาณนี้ค่ะ


=+=+=+=+=+=+=+=


 あるホテルのロビーで山田という男の人がつまらな顔で、あのう、ソファーに座っています。(うん)彼は今は暇なので、あっちこっちに見ています。(うん)そして、たまたま外国人っぽいおじさんと目線があってて(うん)、その外国人さんが「あ、やった!道を聞けそうな人がいる!」っていう顔して、(うん)、あのう、山田という人のところまで、あのう近づいています。(うん)でも、山田はあまり答えたくないので、(うん)、となりに座っているおじさん、あのう...すみません、... あのう、となりに新聞を読んでいるおじさん(うん)がいます。山田さんはその新聞の後ろにこっそり潜んでて... 潜んでて(ああ)あのう外国人が「あ、やっぱり答えたくないよね」って思ってて他のところへ行きました


=+=+=+=+=+=+=+=



     หลังจากถอดเสียงเสร็จ ก็พบเจอปัญหาหลายจุดมากกกกก ถ้าให้ไล่ทีละเรื่องตามสี ปัญหาแรกที่พบเลยคือ เวลาเราคิดไม่ออก เราติดนิสัยพูด あのう ค่ะ พูดเยอะมาก ตั้ง6จุดแน่ะ!!



 
     ตอนถอดเสียงคือเราอยากล้มโต๊ะเหมือนน้องในรูปด้านบนเลยค่ะ เพราะรับไม่ได้ที่ตัวเองไม่ใส่ใจเรื่องความหลากหลายของフィラーเลย ทำให้มีแต่ あのう あのう あのう เต็มไปหมดตอนเล่าเรื่อง หลังจากนี้คงต้องใส่ใจมากกว่านี้ค่ะ ฮือ T_T

     ปัญหาอย่างที่สองที่มีปัญหาคือ ความชัดเจนเรื่องตัวละคร ค่ะ ถ้าลองสังเกตดูดี ๆ เราจะมีพูดถึง おじさん 2 คนค่ะ ตอนบรรยายช่วงหลัง ๆ เราตัดปัญหาว่าเรียกคนที่จะเข้ามาถามทางว่า 外国人 ส่วนคนนั่งข้าง ๆ ยามาดะว่า おじさん แต่มันก็น่าจะทำให้คนฟังงงนิดหน่อยว่าแบบ เอ๊ะ คนไหนอะไรยังไงนะ แน่ ๆ เลยค่ะ(...) 


 คนฟังและคนพูดทำหน้างงรัวๆ

     นอกจากความชัดเจนเรื่องตัวละครแล้วยังมีปัญหาเรื่อง รายละเอียดเรื่อง ตำแหน่งกับท่าทางของตัวละคร ด้วยค่ะ ถ้าฟังผ่าน ๆ อาจจะรู้เรื่อง แต่ไม่เห็นภาพชัดเจนว่าตัวละครทำอะไร อยู่ตรงไหนชัดเจนค่ะ เช่น 外国人っぽいおじさん เราบอกแค่ว่าดูเป็นคนต่างชาติ แต่นอกจากนั้นก็ไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าลุงคนนี้อยู่ตรงไหนของล็อบบี้ มีถืออะไรอยู่มั้ย? คนฟังคงงง ๆ ว่า ก่อนยามาดะจะหันไปเจอลุง ลุงอยู่ไหน ทำอะไรอยู่ 

     เพราะฉะนั้น กรณีของลุงที่ดูเหมือนต่างชาติ เราตัดสินใจแก้ให้ชัดเจนขึ้นเป็น 柱を背にして地図を持っている外国人 ส่วนลุงอีกคนที่นั่งข้างยามาดะ แทนที่จะอธิบายช่วงหลัง ๆ เราเปลี่ยนมาเป็นเล่าแต่แรกเลยว่า 山田さんの隣ではおじさんが新聞を広げて読んでいます。คนฟังจะได้รู้แต่แรกเลยว่าข้าง ๆ ยามาดะมีคนนั่งข้างแต่แรก ตัดปัญหาการเข้าใจผิดด้วยว่า "เอ๊ะ ลุงที่นั่งข้างยามาดะเพิ่งมานั่งรึเปล่า?" ด้วยค่ะ

    อีกจุดที่เสริมคือ สีหน้าตัวละคร เพื่อให้คนฟังอิมเมจสีหน้าตัวละครตอนพูดเซริฟุได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่น その外国人さんが「あ、やった!道を聞けそうな人がいる!」という嬉しそうな顔をして...


嬉しそうな顔 
(出典:https://matome.naver.jp/odai/2143374375481523301/2143374404682140703)


    ปัญหาต่อมาที่เจอคือ การใช้แกรมม่า ค่ะ จะมีหลายจุดที่ควรใช้~てしまった、~てき เพื่อให้เห็นถึงความเผลอทำไปซะแล้วหรือบ่งบอกทิศทางให้ชัดเจนขึ้นค่ะ ถ้าให้ยกตัวอย่างที่ชัดเจนสุดคือ 近づいています。→近づいてきました

    ส่วนปัญหาสุดท้ายที่เจอคือ เนื้อหา จะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเหตุผลบ้าง เล่าเรื่องไม่เข้ากับภาพบ้าง ที่ชัดเจนมากคือประโยคสุดท้ายที่ปิดเรื่อง มานั่งฟังอีกรอบ คืออุทาน "อิหยังวะ!?" แรงมาก 5555555555 แบบไม่ได้เข้ากับภาพสุดท้ายเลยยยย เราเลยแก้เนื้อหาให้เข้ากับภาพมากขึ้นค่ะ


    จากที่วิเคราะห์คร่าว ๆ + อ้างอิงจากคนญี่ปุ่นอธิบายในชีท ก็แก้ได้ประมาณนี้ค่ะ



=+=+=+=+=+=+=+=


  あるホテルのロビーで山田という男の人がつまらなそう顔をして、ソファーに座っています山田さんの隣ではおじさんが新聞を広げて読んでいます。(うん)彼はふと視線を移すと、柱を背にして地図を持っている外国人とたまたま目線があってしまいました。(うん)その外国人さんが「あ、やった!道を聞けそうな人がいる!」という嬉しそうな顔をして、(うん)山田のところまで、近づいてきました(うん)でも、山田は地理に詳しいわけではないし、英語もできないので、あまり答えたくないです。どうしようかなと思ったとたん、(うん)そこで山田さんは隣のおじさんが広げている新聞の後ろにこっそり隠れてしまいました。おじさんもいきなり自分の胸の中に入ってきた山田にびっくりしました。(ああ)外国人も「そんなに答えたくないのか?」という驚いている顔をして、言葉を失ってしまいました。 


=+=+=+=+=+=+=+= 



     ถ้าให้สรุปสิ่งที่ได้จากタスク4คือ

   1. พยายามใช้フィラーให้หลากหลายกว่านี้

     2. ควรอธิบายตัวละครให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้คนฟังงงว่าเราพูดถึงใครอยู่ + บรรยายสีหน้าท่าทาง ตำแหน่งของตัวละครให้ละเอียดที่สุด คนฟังจะได้นึกภาพได้ง่ายขึ้น

     3. การหันมาใช้แกรมม่าพวกてしまった、~てき ถ้าใช้พวกนี้ได้คล่อง คงใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรมชาติขึ้น 

    *4. ระวังเรื่องเนื้อหาไม่ตรงกับภาพที่ให้มา อันนี้สำคัญมาก ผิดแบบไม่น่าให้อภัยที่สุดสำหรับเรา เพราะทำให้ความที่ต้องสื่อเพี้ยนแรงมาก TvT

     5.การใช้副詞เช่น ふと、たまたま、こっそりช่วยให้การบรรยายเราเข้าใจง่ายขึ้น

     6.แบ่งประโยค+พยายามมีจังหวะการเล่า อันนี้ต้องพยายามไม่ให้ประโยคยาวเกินไป จะได้ฟังง่าย ๆ แล้วก็พยายามใช้พวก接続詞อย่าง でも、そこで ก็จะช่วยให้เรื่องที่เล่าดูมีจังหวะขึ้นว่าแบบ เออ เกิดจุดหักเห เข้าสู่ช่วงพีค เป็นต้น

   
         ถ้าให้นิยามタスク นี้ด้วยรูปก็คงเป็นรูปนี้ค่ะ




 
 
 
     บอกตามตรงว่ารู้สึกยิ้มแห้งมากตอนทำ ว่าแบบ เออเนอะ เรารู้จักอันนี้ แต่ทำไมเอามาใช้ไม่ได้ รู้สึกอายแปลก ๆ ในฐานะคนเรียนญี่ปุ่นมาหลายปี/หยิบกล่องมาคุมหัวเพื่อปกปิดความอาย(?)

     แต่จากการทำ タスク นี้ก็รับรู้ถึง Gap ที่เราทำได้กับควรทำได้ชัดเจนเลยค่ะ ส่วนตัวที่ว่าตัวเองทำได้ดีคือ "ใส่เซริฟุให้ตัวละคร" น่าจะเป็นเรื่องเดียวที่ตอนทำタスクนี้คือทำได้ดี ที่เหลือคือต้องไปปรับปรุงรัว 5555555555/น้ำตาไหลพราก

     รู้สึกได้เลยว่าเวลาต้องมาเล่าเรื่องอะไรแบบนี้คือจะตั้งสติยังไงให้เล่าความได้ครบ+เห็นภาพคือยากมาก ๆๆๆ ต้องฝึกลูกเดียวถึงจะทำได้ดีจริง ยิ่งเราเป็นคนประหม่าเวลาต้องพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่+ไม่ถนัดพูดต่อหน้าคนแปลกหน้า คงต้องฝึกหนักกว่าคนอื่นหลายเท่า แต่ก็จะพยายามเพื่อพัฒนาภาษาญี่ปุ่นและสกิลการเรื่องเล่าของเราให้ดีขึ้นไปค่ะ!

    ก็หวังว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก タスクนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่แวะเวียนเข้ามาอ่านนะคะ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

2 ความคิดเห็น:

  1. ใส่ セリフ ให้กับตัวละครทำให้คนฟัง(อ่าน)เรื่องเข้าใจเรื่องมากขึ้นจริงๆค่ะ(อันนี้เป็นจุดที่ดีมาก) ฉบับแก้ที่น่าชมเชยอีกอย่างคือมีการใช้ 副詞 มากขึ้นทำให้เห็นภาพขึ้นอย่างชัดเจน

    ตอบลบ
  2. น้องว่าตอนแรกที่พี่มายเล่าก็รู้สึกว่าโอเคอยู่แล้วอะ เรื่องการใช้ศัพท์ แต่พอมาดูอีกที เอ้อ จริงด้วยแฮะ โอจี้ซังคนไหน5555555 ก็ถือว่าพี่ 意識 ปัญหาของตัวเองและจับจุดได้ดีมากเลยค่ะ
    แล้วก็ ถ้าเป็นเราเนี่ย ศัพท์บางตัวที่พี่พูดก็คือไม่อยู่ในหัว555555555

    ตอบลบ