วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

Self-Study2: 暗記するより体で覚えよう!

     สวัสดีค่ะ! กลับมาเจอกันอีกครั้งกันนะคะ แต่วันนี้ไม่ได้มาอัพเกี่ยวกับกิจกรรมในห้อง แต่เป็นเรื่องที่เราเอะใจในห้องเพราะรู้สึกคุ้นแปลก ๆ อย่างไม่บอกถูก(?)

     ต้องขอเกริ่นถึงสิ่งที่เรียนในห้องก่อนนะคะ ช่วงประมาณ2-3สัปดาห์นี้ อาจารย์สอนเกี่ยวกับ Input ค่ะ เกี่ยวกับการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะมีอยู่เรื่องหนึ่งที่อาจารย์พูดในห้องแล้วเพิ่งมารู้สึกเอ๊ะเมื่อไม่กี่วันมานี้ นั่นก็คือ

TPR


     ย่อมาจาก "Total physical Reponse" เป็นแนวการสอนที่ให้ผู้เรียนฟัง ดู และ ปฏิบัติ ไม่บังคับให้ผู้เรียนพูดจนกว่าผู้เรียนอยากจะพูดออกมาเอง คิดค้นโดย James Asher อาจารย์ด้านจิตวิทยา


รูปคุณ James Asher 
(รูปจาก:https://www.pinterest.com/pin/380554237235312397/)


      ที่อาจารย์ยกตัวอย่างในห้องก็จะเป็นให้เด็กในห้องขยับท่าทางตามที่อาจารย์สอน เช่น ตุ๊กตาหมี ก็ให้เด็กทำท่ากอดตุ๊กตาไรงี้ พอเด็กทำไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มที่จะพูดออกมาเอง

     เราก็คิดมาตลอดนะว่าเป็นวิธีที่ใช้ได้แค่กับเด็ก ๆ รึเปล่า เพราะเด็กโตแล้วคงอายที่จะทำ แต่เพิ่งมานึกได้ว่าตอนสอนน้องวันก่อนเราใช้วิธีสอนแนวนี้กับน้องที่สอนค่ะ 55555

     เรื่องมีอยู่ว่า เรากำลังจะสอนการใช้貸しますกับ借ります ก่อนที่จะสอน เราก็มีควิซคำศัพท์กับน้องก่อนซึ่งพบว่าน้องเขียนความหมาย貸します เป็น "ขอยืม" ค่ะ น้องเลยพูดขึ้นมาก่อนเรียนเลยว่าน้องไม่รู้จะจำยังไงดี เผลอจำสลับกันตลอดเลย

     ตอนแรกเราจะบอกน้องให้ดูที่คันจิค่ะ แต่น้องเพิ่งจะเรียนคันจิไปได้นิดหน่อย+ยังไม่ได้เรียนคันจิพวกคำกริยาตัวไหน "เลย" เราที่ค่อนข้างถือคติ i+1 เวลาสอนหนังสือเลยไม่ค่อยอยากข้ามขั้นลำดับการเรียนรู้ศัพท์คันจิ ถึงกับสตั้นไป3วิว่าจะสอนน้องยังไงดีค่ะ TvT


สตั้นจนนั่งครุ่นคิดอยู่หลายวิว่าจะสอนยังไงดี...



     หลังจากคิดอยู่หลายวิ สิ่งที่เราทำคือหยิบปากกามาแล้วยืดแขนออกจากตัวแล้วพูดว่า


 รูปนี้เราวาดเองค่ะ ก็จะหยาบหน่อยๆ---


      แว่บแรกที่นึกออกเลยคือ "ทำท่าทางประกอบ" เพราะถ้าย้อนกลับไปสมัยเราเริ่มเรียนญี่ปุ่นใหม่ ๆ เราก็มีปัญหาว่าจำคำนี้สับสนเหมือนกับน้องเลยค่ะ ก็ใช้วิธีนี้เป็นเทคนิคการจำ เราเลยตัดสินใจทำให้น้องดูค่ะ แล้วพูดกับน้องเสริมอีกว่า "貸します ยืดแขนออกไปเพื่อให้คนอื่นยืมของ"

     จากนั้นก็หดแขนกลับมา ค่อยพูดว่า


      แน่นอนเราก็มีพูดเสริมอีกว่า "借ります รับของมายืมใช้เลยหดแขน" เราก็ทำท่า貸しますกับ 借ります วนไป 2-3 ครั้งได้ น้องก็ดูอึ้ง ๆ ว่าอีพี่นี่ทำอะไร 55555555 แล้วน้องก็ไม่ได้พูดอะไร เราก็สอนต่อตามปกติค่ะ แต่ตอนนั้นก็คิดเลยว่านี่เราทำอะไรลงไป ไม่น่าทำเลย



บอกตามตรงว่าเขินดีเลย์มากว่าตัวเองทำอะไรลงไป///


     แต่ปรากฏว่าพอสัปดาห์ถัดไปที่น้องส่งการบ้านเรา น้องก็บอกว่าน้องไม่สับสนเรื่องความหมาย 貸します กับ 借りますแล้วเพราะท่าที่เราทำค่ะ!! แถมน้องทำท่าให้เราดูพร้อมพูดออกมาด้วย พอเห็นว่าสิ่งที่เราทำไปช่วยให้น้องจำได้คือน้ำตาจะไหลเลยค่ะ 555555

     จากจุดนี้เองที่ทำให้เราเอะใจว่า เฮ้ย เราให้น้องเรียนรู้แบบ TPR อยู่นะ (ถึงกว่าจะรู้ตัวจะดีเลย์ไปสัปดาห์ก็เถอะ) ทำให้เราตระหนักว่าไอ้ทฤษฎี แนวคิด วิธีการเรียนรู้หลาย ๆ อย่างที่ได้学習ในห้อง บางทีก็เอามาใช้เองโดยที่ไม่รู้ตัวก็มี 

      นอกจากนี้ยังทำให้เรา実感ได้จริง ๆ ว่า แทนที่จะจดจำด้วยการท่องในใจที่จำยากลืมง่าย ให้ร่างกายได้ขยับอย่างกรณีที่เราสอนน้องรอบนี้คือยืดแขน ขยับปากพูด จะช่วยให้เราจำง่ายลืมยาก ซึ่งเราเคยอ่านจากหนังสือเล่มหนึ่ง ก็บอกว่าสามารถมองวิธีนี้เป็นการ Output ได้อย่างนึง แต่จะมองเป็นการ Output ได้ยังไง ขอยกยอดไปในการอัพครั้งหน้านะคะ

     หวังว่าเรื่องเล่าของเราในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะคะ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

3 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอด ครูขอเอาไปใช้ด้วยนะคะ ยืดแขนออก หดแขนเข้า ทำให้ผู้เรียนจำได้จริงค่ะ TPR ส่วนมากใช้สอน てくださいแต่กริยาที่ทิศทางและสับสนง่ายสำหรับผู้เรียนชาวไทยเช่นนี้ ก็สามารถนำมาใช้ประยุกต์ได้ ไอเดียดีมาก ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ด้วยความยินดีค่ะ! หนูว่าเรื่องทิศทางยากนะคะ เพราะคำศัพท์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับทิศค่อนข้างเยอะ ลูกศิษย์หนูก็เมาเรื่องศัพท์บ่อยมาก ต้องหาเทคนิคให้น้องจำเรื่อยๆเลยค่ะ

      ลบ
  2. เข้าใจความเขินนะคะพี่มาย5555 แต่น่าจะคุ้มค่าที่น้องจำได้ จำได้ว่าตอนตัวเองเรียนภาษาญี่ปุ่นแรก ๆ ก็มีปัญหากับสองคำนี้เหมือนกัน ตอนนั้นรู้สึกแก้ด้วยการจำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็นานเหมือนกันกว่าจะจำได้ ถ้าได้ TPR คงจำได้ไวกว่านี้ เสียดายยย

    ตอบลบ