วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

Self-Study3:アウトプットとは「運動」である?

     สวัสดีค่ะทุกคน! ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเชื่อว่าหลาย ๆ คนเพิ่งจะกลางภาคเสร็จแน่ ๆ เลย お疲れ様!

     วันนี้จะขอกลับมาต่อเรื่องที่เราทิ้งท้ายไว้เมื่อรอบที่แล้วนะคะ ว่าการยืดแขน ขยับปากพูด มองเป็นการ Output ได้ยังไง แต่ก่อนอื่น ขออธิบายเกี่ยวกับ Output ก่อนนะคะว่าเป็นทฤษฎีว่าด้วยการนำข้อมูลที่อยู่ในสมองออกมาใช้งานค่ะ เช่น พูดคุยกับคนอื่น เขียนบล็อก(อย่างที่เราเขียนอยู่ก็ถือว่านับค่ะ) ส่วนตัวค่อนข้างสนใจเรื่องนี้ก่อนจะเรียนในห้องอยู่แล้ว เลยมีไปซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านค่ะ



ปกขาวมาก อาจจะเนียนกับพื้นหลังดูยากหน่อยนะคะ TvT 
(出典:https://www.amazon.co.jp/)

   

     หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนของคุณ樺沢紫苑(かばさわしおん) เป็นนักจิตแพทย์ ที่มีงานเสริมอย่างงานเขียนหนังสือเป็นตัวช่วยOutputของเขาค่ะ


 
หน้าตาคุณคาบาซาวะค่ะ
(出典:https://www.youtube.com/watch?v=A5neL47twzI)



     ถ้าให้แนะนำหนังสือแบบคร่าว ๆ คือ รวมรวบวิธีOutputที่สามารถดึงศักยภาพของเราออกมาได้ดีที่สุด แต่ในครั้งนี้เราจะขอโฟกัสถึงนิยามคำว่าOutputที่คุณคาบาซาวะเกริ่นไว้ต้นเล่มนะคะ

     คุณคาบาซาวะได้นิยามถึงความต่างของInputกับOutputที่ต่างกันมากคือ Output ถือเป็น「運動」ค่ะ เพราะเวลาคนเราจะOutput ไม่ว่าจะเขียน พูด ลงมือทำอะไรบางอย่าง 運動神経จะสั่งให้筋肉ขยับเสมอ อย่างความจำที่ใช้運動神経ผ่านพวกการเขียน พูด คุณคาบาซาวะเรียกความทรงจำพวกนี้ว่า「運動性記憶」จุดเด่นของความจำนี้คือ "พอจำได้ ถึงเวลาผ่านไปก็ไม่ลืม"



มั่นใจว่าทุกคนทำหน้างงเหมือนน้องแมวแน่ๆ---


     คุณคาบาซาวะมีอธิบายไว้แบบวิทย์จ๋ามาก ๆ อยู่นะคะ แต่ถ้าให้สรุปง่าย ๆ แบบเด็กศิลป์อย่างเราเข้าใจคือ พอกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นขยับจะทรงผลต่อให้เซลล์ประสาทจำนวนมากในสมองทำงานซึ่งช่วยทำให้ความทรงจำยังคงอยู่กับเราได้นานค่ะ

     เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่เรามีพูดถึงการใช้TPRกับน้องที่เราสอนอยู่ แล้วมีบอกว่าอาจจะมองเป็นการOutputได้ด้วย ก็เพราะเรื่อง運動性記憶เนี่ยแหละค่ะ ถ้าลองมองในมุมมองว่าเราให้น้องจำจากการเคลื่อนไหว และน้องสามารถใช้คำศัพท์นี้ได้ทันทีเพราะร่างกายขยับไปก่อนที่น้องคิด ก็รู้สึกว่าOutputถือเป็น運動อย่างที่คุณคาบาซาวะบอกเลยจริงๆนั่นแหละค่ะ

    แล้วเรามีประสบการณ์Outputแบบที่คุณคาบาซาวะนิยามค่อนข้างเยอะด้วยค่ะ เลยพอจะเข้าใจคอนเซปของคุณคาบาซาวะระดับหนึ่ง สมัยเราอยู่ประถม เราอยู่วงโยธวาฑิตค่ะ อาจารย์คุมวงจะให้ทุกคนจำเนื้อเพลงเพื่อไปเล่นช่วงก่อนเล่นเพลงชาติ แต่เราก็มักจะแปลกใจว่าทำไมเรามักจะจำได้ก่อนที่อาจารย์คุมวงจะสั่งให้จำด้วยซ้ำ 


สมัยก่อนงงกับตัวเองบ่อยมาก แต่ไม่เคยนั่งคิดจริงจังเลยว่าทำไม(...)


 
     แต่ถ้ามานั่งคิดดูดี ๆ ตอนเราเล่นดนตรีก็ถือเป็น 運動 รูปแบบหนึ่งที่นิ้วต้องขยับเพื่อกดปุ่ม  แล้วพอเล่นซ้ำ ๆๆๆๆ เราว่าสมองเราไม่ได้จำได้นะคะ แต่นิ้วต่างหากที่จำได้เพราะนิ้วเรากดบ่อยจนรู้ว่าต้องกดอะไรก่อนหรือหลัง แทบไม่ต้องนั่งนึกเลยว่าต้องเล่นโน้ตตัวไหนต่อ

     ถ้าให้ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวและทุกคนน่าจะคุ้นเคยก็ "คันจิ" ค่ะ เราเป็นหนึ่งในรุ่นที่เจออาจารย์อิไมสอนคันจิตอนปีหนึ่งค่ะ จำได้แม่นเลยว่าสอบควิซคันจิจำนวนมากทุกสัปดาห์ คือเยอะมากชนิดที่เพื่อนหลายคนบอกจำคันจิตัวยากๆท้ายเทอมสองไม่ได้แล้ว แต่น่าแปลกว่าเรารู้สึกว่าเรายังจำคันจิที่เรียนตอนปีหนึ่งได้เกือบหมดเลยค่ะ  

    ส่วนสาเหตุมาจากที่เรา "คัดซ้ำๆ" ตอนปีหนึ่งเราคัดเยอะชนิดที่สมุดเล่มหนาที่ทุกคนเรียนสมัยปลายเต็มทุกบรรทัด เต็มทุกหน้า(...) ถ้ามานั่งคิดประกอบเรื่อง運動性記憶 ยิ่งรู้สึกว่าการจำด้วยการเขียนหรือพูดออกมามันช่วยทำให้เราจำได้แบบติดทนนานมาก ๆๆๆ จริง ๆ ค่ะ เพราะผ่านมาเกือบ4ปีแล้ว แต่เรายังจำคันจิที่เรียนกับอาจารย์อิไมได้แม่นอยู่เลยค่ะ(บ่งบอกความแก้ของตัวเองไปอีก)

     ส่วนตัวว่าOutput ก็เป็นอีกสิ่งที่เราเผลอทำเองโดยไม่รู้ตัว แต่เป็นOutputที่มีคุณภาพมั้ยนั่นก็อีกเรื่อง 5555 เพราะงั้นอีกอย่างที่รู้สึกได้คือ  


"การOutputอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องยากค่ะ" 


     Outputแบบคุณคาบาซาวะก็ถือว่าดีนะคะ แต่ส่วนตัวคิดว่าถ้าลองหาแนวที่เข้ากับตัวเองได้ดีกว่านี้ ผลลัพธ์น่าจะออกมาดีกว่านี้ค่ะ

    หวังว่าการอัพในรอบนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจOutputอีกรูปแบบหนึ่งที่เราอยากนำเสนอในวันนี้นะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

2 ความคิดเห็น:

  1. การทำซ้ำๆ เช่น คัดคันจิซ้ำๆ ใน SLA เรียกว่า rehearsal พอทำไปบ่อยๆก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า 自動化 (อัตโนมัติ)หนังสือเล่มนี้น่าสนใจนะคะ

    ตอบลบ
  2. อ่านหนังสือดูมีสาระมากค่ะ คนอ่านแต่นิยายอย่างน้องจะขอน้อมนำไปเป็นตัวอย่าง55555 ชอบการเชื่อมโยงบล็อคก่อนหน้ากับบล็อคนี้มากค่ะ แบบเคยสอนน้องแล้วมีการเคลื่อนไหวก็จำได้ อยู่วงโยเคลื่อนไหวบ่อย ๆ จำได้ คัดคันจิจำได้ (อันนี้ส่วนตัวเป็นเฉพาะบางคำ บางคำต้องเจอเยอะ ๆ มากกว่าคัด วิธีจำเราน่าจะต่างกันนิดหน่อย)

    ตอบลบ