บล็อกที่แล้วจะเน้นการแนะนำตัวแบบพูดยังไงให้เนื้อหาต่อกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ
แต่ส่วนตัวรู้สึกว่าถึงจะพูดได้ไหลลื่นก็ไม่ได้ช่วยให้คนอื่นจำเราได้จากการแนะนำตัวเลยค่ะ(...)
อาจารย์ก็เลยให้ลองเขียนแนะนำตัวเองอีกรอบค่ะ
แต่ว่าให้เลือกสถานการณ์ว่าจะเอาไปใช้ที่ 合コン(นัดบอด) หรือ就職活動(หางาน)
แล้วเขียนแนะนำตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เลือกค่ะ
เราเลือก 就職活動 ค่ะ เพราะนึกสภาพตัวเองไป就職活動ออกมากกว่า合コン 5555
ก่อนเขียน อาจารย์ก็สอนเทคนิคว่าควรใส่ "Episode" หรือ "สภาพBefore&After" ลงไปด้วย ก็จะช่วยทำให้คนอื่นประทับใจและจดจำเราได้มากขึ้นค่ะ!
นอกจากนี้ อาจารย์ก็มีแนะนำเรื่องแกรมม่าญี่ปุ่นด้วยค่ะ โดยปกติเราจะบอกแค่ว่า …ができます。ซึ่งหลาย ๆ คนฟังก็จะรู้สึกว่า "แล้วไงต่อหรอ?" แน่ ๆ อาจารย์ก็เลยแนะว่าลองเขียนว่าได้เรียนรู้หรือจดจำอะไรได้จากเหตุการณ์ที่เรายกขึ้นมาจะดีกว่า เช่น …を覚えました。…を知りました。
พอฟังเทคนิคต่าง ๆ ดูแล้วก็ได้ลองใช้เทคนิคตามที่อาจารย์สอนดูค่ะ ที่เขียนส่งอาจารย์ไปก็ตามข้างล่างนี้เลยค่ะ
ก่อนเขียน อาจารย์ก็สอนเทคนิคว่าควรใส่ "Episode" หรือ "สภาพBefore&After" ลงไปด้วย ก็จะช่วยทำให้คนอื่นประทับใจและจดจำเราได้มากขึ้นค่ะ!
นอกจากนี้ อาจารย์ก็มีแนะนำเรื่องแกรมม่าญี่ปุ่นด้วยค่ะ โดยปกติเราจะบอกแค่ว่า …ができます。ซึ่งหลาย ๆ คนฟังก็จะรู้สึกว่า "แล้วไงต่อหรอ?" แน่ ๆ อาจารย์ก็เลยแนะว่าลองเขียนว่าได้เรียนรู้หรือจดจำอะไรได้จากเหตุการณ์ที่เรายกขึ้นมาจะดีกว่า เช่น …を覚えました。…を知りました。
พอฟังเทคนิคต่าง ๆ ดูแล้วก็ได้ลองใช้เทคนิคตามที่อาจารย์สอนดูค่ะ ที่เขียนส่งอาจารย์ไปก็ตามข้างล่างนี้เลยค่ะ
=+=+=+=+=+=+=+=
=+=+=+=+=+=+=+=
ที่เราเปลี่ยนสีกับไฮไลท์คือจุดที่อาจารย์คอมเมนท์ว่าควรแก้ค่ะ อาจารย์บอกว่าลองให้ไปนั่งนึกดูก่อนว่าควรแก้ยังไง
ถ้าดูตรงที่เราเปลี่ยนเป็นสีเขียวก็ทำให้เราค้นพบว่า.........
.....
...
.
เราลืมนึกถึงความเป็น書き言葉(ภาษาเขียน)อย่างเต็ม ๆ เลยค่ะ!!!!!
(ตอนที่นึกได้คือช็อกมาก สภาพเหมือนน้องหมีด้านบนเลยค่ะ ฮืออออ)
ตอนที่เขียนแนะนำตัวรอบนี้ เราดันไปยึดหลักความคิดหนึ่งว่า "เออ เราต้องเอาไปพูดนะ บางจุดเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้แหละ" แต่ลืมไปเลยว่า สถานการณ์ที่เราเลือกคือ 「就職活動」 ซึ่งถ้านึกถึงหลัก"TPO" คือผิดหลักเต็ม ๆ เลยค่ะ
ถ้านึกถึงสถานการณ์เวลาสมัครงานที่ต้องมีความทางการ+สุภาพ เพราะฉะนั้นเราจะใช้ภาษาพูดกับภาษาเขียนผสมกันไม่ได้ ต้องเป็นภาษาเขียนไปเลย เพราะฉะนั้นความผิดพลาดในครั้งนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่า เราควรระวังเรื่องการใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียนให้มาก ๆๆๆ TvT
ส่วนตรงที่เราทำสีแดงไว้คือ เราลืมนึกถึง.........
「視点」
ยอมรับว่าจุดนี้สะเพร่าเองที่ลืมนึกว่าประธานของประโยคคือใครเลยผันตามความเคยชินเป็นさせた แล้วส่งอาจารย์โดยไม่เช็คให้ละเอียดว่าที่ผันมันไม่ตรงกับประธานของประโยค(...)
ประเด็นนี้จะชวนให้นึกถึงเรื่อง 受身 ที่เรียนในคาบที่ผ่านมาเลยค่ะ ว่า受身ช่วยรักษา 視点 กับ ความ客観的 ของประโยคที่ใช้ ซึ่งส่วนตัวว่าไม่ว่าจะ 使役 หรือ 使役受身 ก็ช่วยรักษา視点ให้เข้าใจง่ายเหมือนกัน เพราะผันผิดที มุมมองที่เล่าเรื่องเปลี่ยนไปมาก ทำคนอ่านหรือคนฟังงงแน่ ๆ ค่ะ
อย่างกรณีของเราคือ ถ้าคนญี่ปุ่นมาคนอ่านคงงงแน่ ๆ เลยว่า...
"อ้าว ไม่ได้พูดถึงตัวเองหรอ?"
...
..
.
ส่วนตรงที่เราทำสีชมพูไว้ เราจะไม่พูดอะไรมาก เพราะอันนี้รู้ตัวว่าผันผิดแต่ลืมกลับมาแก้ (รอบนี้โชว์ความสะเพร่ารัวๆ )
ตอนนี้จะขอมาพูดในส่วนสุดท้ายที่เราไฮไลท์สีส้มไว้ค่ะ ที่เราไฮไลท์เพราะว่า...
อาจารย์ชมว่าเขียนดีมากล่ะค่ะ!!!
แต่ ๆๆๆๆๆ อาจารย์ก็มีคอมเม้นท์มาว่าเราควรเสริมอีกนิดนึงเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ นั่นก็คือตรง目的を達成するために、努力を惜しまないこと อาจารย์ก็แนะนำว่าควรเพิ่ม 練習することで ด้านหลังためにเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า "จากการฝึกฝน....ทำให้..." ซึ่งส่วนตัวก็เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เพราะตอนที่เขียนก็รู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมรู้สึกขาด ๆ คนอ่านจะงงมั้ยนะ? มาอ่านคอมเม้นท์อาจารย์ทีถึงกับบางอ้อเลยค่ะ 5555555
เพราะฉะนั้นถ้าลองแก้ตามที่อาจารย์คอมเม้นท์มาก็จะได้ตามนี้ค่ะ
เพราะฉะนั้นถ้าลองแก้ตามที่อาจารย์คอมเม้นท์มาก็จะได้ตามนี้ค่ะ
=+=+=+=+=+=+=+=
=+=+=+=+=+=+=+=
พอแก้แล้วรู้สึกว่า การแนะนำตัวที่เราเขียนดูเป็นทางการ+คนญี่ปุ่นน่าจะเข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ 5555 ก็ถ้าให้สรุปสิ่งที่ได้จากการเขียนแนะนำตัวรอบนี้คือ
1. การใส่ "Episode" หรือ "สภาพBefore&After" ช่วยให้การแนะนำตัวของเราดูมีอิมแพคมากขึ้น
2. การใช้…を覚えました。หรือ …を知りました。เป็นการบอกผลลัพธ์ว่าเราได้จดจำหรือเรียนรู้อะไรจากเรื่องราวที่ยกขึ้นมา ส่วนตัวจะรู้สึกว่าเหมือนเป็นまとめสิ่งที่เราอยากจะสื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ๆ ในหนึ่งประโยคเลยค่ะ
*3. เวลาแนะนำตัวควรใช้ 書き言葉 เพื่อความสุภาพ(สำหรับเรา ข้อนี้ถือว่าเรื่องที่ต้องระวังมาก ๆ เลยค่ะ ฮือ T_T)
4. ระวังสับสน視点ที่ใช้เล่าเรื่อง กันคนอ่านงง(รวมถึงตัวคนเขียนเองด้วย)
บอกเลยว่าทั้งชีวิตนี้ไม่เคยคิดว่าการแนะนำตัวจะเป็นอะไรที่ยากขนาดนี้มาก่อน 555555 แต่พอมาทำกิจกรรมก็ยิ่งรู้สึกว่า
"อะไรที่คิดว่าง่าย มันไม่ง่ายอย่างที่คิดและควรใส่ใจมากกว่านี้"
หวังว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากอาจารย์และปัญหาที่เจอจากการลองทำกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่แวะเวียนเข้ามานะคะ
สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ :)
โอ้โห เขียนความแตกต่างก่อนและหลัง(ได้คอมเมนต์) และกระบวนการพัฒนาของตนเองได้อย่างละเอียดเลยค่ะ
ตอบลบ惜しまない เราจะลอกคำนี้ไปใช้บ้าง
ตอบลบชอบการชี้จุดที่บกพร่องของพี่มากเลยค่ะ อธิบายได้เข้าใจง่ายและรู้ว่าตัวเองผิดตรงไหน ส่วนสตอรี่ก็ชอบตรงที่ เออ ร้องไห้ไปก็ไม่ได้อะไรเนอะ สู้ดีกว่า
ตอบลบ