ย้อนไปเมื่อคาบแรกที่เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาภาษาศาสตร์ประยุกต์ อาจารย์มีพูดถึงศาสตร์ต่าง ๆ ที่แตกย่อยออกมากจากภาษาศาสตร์ประยุกต์ค่ะ ซึ่งอาจารย์มีพูดถึง ศาสตร์การทำพจนานุกรม(辞書学)แล้วอาจารย์ก็มีพูดแซวว่าใครอยากทำพจนานุกรมมั้ย? แน่นอนว่าเราส่ายหัวแรงมาก 5555 แต่เราส่ายหัวไม่ใช่เพราะว่าเห็นเป็นงานน่าเบื่อนะคะ แต่รู้ว่าตัวเองทำไม่ไหว เพราะงานทำพจนานุกรมคือ "งานละเอียดและใช้เวลาเยอะมาก"
ถามว่าเรารู้ได้ไง? เพราะเราได้ดูอนิเมเรื่อง 舟を編む(ふねをあむ) ค่ะ เลยมีโอกาสได้รู้รายละเอียดการทำพจนานุกรมค่ะ
โปสเตอร์โปรโมทอนิเมะของออฟฟิเชียล
舟を編むเดิมทีเป็นนิยายแต่งโดย三浦 しをん(みうら しをん) ได้รับการตีพิมพ์ปี2011 และได้ทำเป็นอนิเมชั่นในปี2016ค่ะ
ส่วนที่มาชื่อเรื่อง อาจารย์มิอุระตั้งใจให้ชื่อเรื่องมีความหมายว่า 「辞書は言葉の海を渡る舟、編集者はその海を渡る舟を編んでいく」 ทำไมถึงเปรียบเป็นแบบนี้ เราจะไม่ขอพูดถึงนะคะ แต่ให้ทุกคนไปดูกันเอง มี11ตอนจบค่ะ---(ขายตรงสุด)
ถ้าให้เล่าย่อ ๆ คือ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกับแผนกพจนานุกรมของสำนักพิมพ์เกมบุมีโปรเจกต์ทำพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นเล่มใหม่ชื่อ 大渡海(だいとかい)ขนาด中型ทว่าหัวหน้าแผนกใกล้เกษียนจึงต้องรีบหาคนมาสานโปรเจกต์ต่อ ซึ่งได้馬締光也(まじめみつや)พระเอกของเรื่องผู้พูดไม่ค่อยเก่งจากฝ่ายขายที่มีความสามารถเกี่ยวกับคำศัพท์สูงมากมารับหน้าที่ต่อเพื่อให้大渡海ออกมาเป็นเล่มให้ได้
ถ้าดูจากโปสเตอร์ก็คงพอเดาได้แล้วว่าพระเอกของเราก็คือตาแว่นคนตรงกลางนั่นแหละค่ะ 555
ทุกคนอาจจะงง ๆ ว่าทำไมมาจิเมะนั่นถึงได้มีความสามารถเกี่ยวกับคำศัพท์สูง ทั้ง ๆ ที่เขาพูดไม่เก่งใช่มั้ยคะ? ถ้าอ้างอิงข้อมูลตัวละครจากต้นฉบับนิยายของคุณมิอุระก็ค้นพบว่า...
มาจิเมะเรียนปริญญาโทด้านภาษาศาสตร์ค่ะ!!!
ถ้าให้ยกตัวอย่างการร่าย(?)ภาษาศาสตร์สไตล์มาจิเมะก็ขอยกฉากหนึ่งจากตอนแรกสุดของเรื่องละกันค่ะ จะเป็นฉากที่นิชิโอกะ(หนุ่มหัวน้ำตาลในโปสเตอร์)พูดกับฮาจิเมะว่า จะเป็นคนจริงจังหรือเป็นคนตรง ๆ ก็เอาเถอะ แต่หัดดูสถานการณ์(空気読め)ซักหน่อยเถอะ
ส่วนมาจิเมะที่ได้ยินก็สะดุดกับคำว่า空気読めก็พูดไว้ตามนี้ค่ะ
「空気」...ということは西岡さんのおっしゃる空気は呼吸するものではなく、場の状況、雰囲気を表す際に用いる「空気」ですね。「空気が重い」 という使い方もありますね。居心地が悪い。その場を立ち去りたいような思いに駆られること。
จากบทพูดสั้น ๆ ของมาจิเมะ จะเห็นได้ถึงว่ามาจิเมะนึกความหมายของคำว่า空気ที่ถ้าเปลี่ยนคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่ตามหลังแล้วความหมายจะเปลี่ยนไปในทันที ซึ่งการนึกความหมายของคำศัพท์หนึ่งที่มีความหมายได้ในชั่วพริบตาไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไป จะทำได้ แต่กรณีมาจิเมะที่เรียนด้านภาษาศาสตร์มาโดยตรงก็น่าจะคลุกคลีเรื่องคำศัพท์แทบจะตลอดเวลา(หมายเหตุ:ในห้องมาจิเมะมีแต่หนังสือและพจนานุกรมค่ะ...)แต่ที่แน่ ๆ คือมีความรู้เกี่ยวกับภาษาลึกกว่าคนทั่วไปแน่นอน เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าแปลกที่เขาสามารถนึกความหมายออกมาได้ไวกว่าคนปกติ และจากจุดนี้เองที่ทำให้เราตระหนักได้ว่าภาษาศาสตร์เข้ามามีบทบาทกับการทำพจนานุกรมได้อย่างไรเลยค่ะ
ต่อจากนี้จะขอพูดถึงงานที่มาจิเมะต้องทำนะคะ แต่จะขอพูดถึงแค่บางส่วน อย่างแรกที่จะขอยกตัวอย่างคือ "การรวบรวมคำศัพท์" ทุกประเภท ไม่ว่าจะคำศัพท์ที่ปรากฏตามนิตยสารหรือบทสนทนาในชีวิตประจำวัน รวมถึงจดบันทึกประโยคตัวอย่างลง用例採集カード
หน้าตา用例採集カード
นอกจากนี้จะมี "การตรวจเทียบเช็คคำศัพท์" จากพจนานุกรมขนาด中型ที่เป็นขนาดเดียวกับที่大渡海จะทำ โดยเทียบทั้งหมด3เล่ม โดยมีหลักเช็คว่าถ้าคำ ๆ นั้นมีปรากฏทั้ง3เล่มให้วงกลมซ้อนกัน2วง ถ้าปรากฏแค่2เล่มก็1วง ถ้าปรากฏเล่มเดียวก็วาดเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งการเช็คนี้สามารถบอกได้ว่าคำไหนยังพบเจอการใช้อยู่หรือแทบไม่เจอแล้ว เหมือนเปิดcorpusเช็คเรื่องคลังศัพท์นั่นแหละค่ะ แต่อันนี้จะเป็นเปิดเทียบกับพจนานุกรม3เล่มที่เราต้องเปิดไล่เช็คเองทีละคำ(แค่คิดก็เหนื่อยแทนมาจิเมะแล้ว5555)
พอเช็คเสร็จ ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้ค่ะ
อันนี้ก็จะเป็นงานช่วงแรก ๆ ที่มาจิเมะทำค่ะ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นงานไม่ยากนะคะ แต่ทุกคนลองนึกดูนะคะว่าตั้งแต่ตัว あ~んมีตั้งกี่ตัวแล้วมีคำศัพท์แตกปลีกย่อยอีกเพียบ ที่พีคคือ 大渡海 มีแพลนจะบันทึกคำศัพท์ลงไป230,000คำค่ะ!!! แถมหัวหน้าแผนกยังพูดอีกว่างานทำพจนานุกรมเล่มนึงทำกันเป็น10ปีขึ้นไป(ในเรื่องปาไป13ปีด้วย...)
บอกเลยว่าอันนี้แค่ยกตัวอย่างงาน "เบื้องต้น" ที่มาจิเมะเจอนะคะ ดูแค่นี้ก็เข้าใจขึ้นมาระดับนึงเลยว่าทำไมพจนานุกรมถึงได้ขายราคาแพ๊งแพง T T กว่าจะมาได้แต่ละคำคือไม่ง่ายเลย ต้องอาศัยความอดทนกับความละเอียดด้านภาษาในการทำงานมาก เหนืออื่นสิ่งใดคือใช้เวลาเยอะมากกกกกกกกกก(เอาก.ไก่ไปล้านตัว) ต้องบอกว่ายิ่งเห็นยิ่งมั่นใจว่าตัวเองทำไม่ได้มากกว่าเดิมแน่ ๆ 55555555
นอกจากนี้ในเรื่องจะมีประเด็นเรื่องของพัฒนาการตัวละคร ปัญหาด้านในแผนก กระบวนการเช็คงาน ฯลฯ ขอรับรองเลยว่าเรื่อง 舟を編む สนุกมาก ๆ แนะนำให้ทุกคนไปดูจริง ๆ ค่ะ(ขายตรงรอบ2)
หวังว่าทุกคนจะชอบนะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ!
犬、そこにいるのにいぬ
ตอบลบเราชอบเรื่องนี้มากเหมือนกันนน เคยอ่านไปหน่อยนึงแล้วโดดไปดูหนัง
ว่าว่างๆจะอ่านใหม้แต่ต้นให้จบ แน่นอน จองคิวดูเมะด้วยยย
ส่วนตัวว่าอนิเมทำละเอียดกว่าหนังนะ(อย่างว่าเวลาเยอะกว่า) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคือพี่ชอบการเล่าเรื่องของฝั่งอนิเมะมากกว่าด้วยเลยชอบเวอร์ชั่นอนิเมมากกว่า นี่ก็คิดอยู่ว่าถ้าว่าง ๆ ก็อยากลองอ่านนิยายต้นฉบับอยู่เหมือนกัน ถ้าอ่านจบเดี๋ยวมาคุยด้วยนะ 555
ลบน่าสนนนน พระเอกนี่สเปค หนุ่มแว่นและเนิร์ด5555555 แต่ส่วนที่ชอบคือ การ์ตูนญี่ปุ่นชอบเอาอาชีพต่าง ๆ มาตีแผ่ แม้กระทั่งสิ่งที่คนมักมองข้ามอย่างพจนานุกรมยังเอามาทำเป็นการ์ตูนได้เลยอะ ของที่เราไมาเห็นค่าอย่างพจนานุกรมก็มีคุณค่าขึ้นมาในสายตาเราด้วยการสร้างสตอรี่ได้
ตอบลบพี่ว่าเป็นเอกลักษณ์ญี่ปุ่นเลยนะที่เลือกจะนำสิ่งที่ผู้คนไม่ค่อยพูดถึงมาตีแผ่เป็นรูปแบบอนิเมชั่น แล้วส่วนมากทำทีไรก็สร้างกระแสอะไรบางอย่างให้กับสังคมญี่ปุ่นเสมอด้วย อย่างมีเรื่องนี้ที คนญี่ปุ่นก็หันมาให้ความสนใจพจนานุกรมมากขึ้นนะ
ลบโห เข้าใจละว่าทำไมพจนานุกรมแพง 55555 เราเพิ่งรู้ว่ามีการเช็คความถี่ที่ศัพท์ปรากฎในพจนานุกรมอื่นด้วย แค่ทำเรื่องเดียวก็กินเวลาชีวืตมากๆละ เห็นใจคนทำจริงๆ (- . -) เหมือนว่าอาจารย์สักคนเคยเปิดหนั
ลบงให้ดูในห้องใหญ่ เดี๋ยวว่าง ๆ จะดูเวอร์ชั่นแอนิเมะนะ :)
ตอนปี1คาบอินโทรดรัม อาจารย์มีบังคับให้ไปดูหนังเพื่อเขียนวิจารณ์เทียบหนัง2เรื่อง แล้วอาจารย์มีเปิดเรื่องนี้ฉบับคนแสดงน่ะ อิงน่าจะเคยเห็นผ่านๆแหละ(ฉันเชื่อว่าอิงเคยเห็น เด็กเอกญี่ไปดูเกือบทุกคน 555) ส่วนอนิเมเพิ่งออกตอนพวกเราอยู่ปี3 แนะนำมาก ๆ ดูให้ได้นะ!
ลบ