วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Week3:すみません!BRKに行きたいんですが…

     สวัสดีค่ะทุกคน! วันนี้กลับมาพร้อมกับタスク3手際のいい説明ค่ะ ถ้าให้อธิบายสิ่งที่ทำจากเนื้อหาในタスクนี้แบบง่าย ๆ คือ "บอกทางคนญี่ปุ่นให้มาตึกBRK" ซึ่งต้องขอบอกไว้แต่แรกเลยว่าเรา...  

"สกิลบอกทางอยู่ระดับติดลบ" 
หน้าตาเราเวลาโดนคนถามทาง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม(;-;)


     รู้สึกเศร้ามากที่สกิลบอกทางแย่ตั้งแต่จำความได้ (แต่อย่างน้อย ๆ คือตัวเองยังไม่ใช่พวกเดินหลงทางน่ะนะ) ถ้าจำเป็นต้องบอกทาง จะบอกแบบโง่มากแบบ "เดินตรงไปเรื่อย ๆ นะคะ อยู่ทางซ้ายมือ"เพราะฉะนั้นพอตอนที่รู้ว่าต้องเขียนบอกทางให้คนญี่ปุ่นมาจากคือลำบากใจ ไม่มั่นใจเลยว่าจะเขียนบอกทางรู้เรื่อง 5555555555

     แต่ไหน ๆ ก็มีโอกาสเขียนแล้วก็ต้องลองซักตั้ง ซึ่งอาจารย์กำหนดให้เขียนบอกทางจาก "BTSช่องนนทรีไปตึกBRK" ก็ลองเขียน ๆ แก้ ๆ มา 2 รอบก็ได้มาประมาณนี้ค่ะ


=+=+=+=+=+=+=+=
チュラ大のBRKへの行き方

 まず、BTS Chong Nonsi(チョンナンシ)のホームに入って、「National Stadium」行きの電車に乗りましょう。Chong Nonsi、Sala Daeng(サラダーン)、Ratchadamri(ラーチャダムリ)Siam(サイアム)の順に各駅に停まるので、三つ目のSiam駅で下車してください。
 次に、2番出口を出て、左方向を見ると、左手に「Center point」というデパートの2階入り口につながるところに出ます。そばに下への階段がありますから、降りてください。ここで注意して欲しいのが、そのまま直進せずに、Uターンしてください。そうしたら、Innisfreeという化粧品を売っている店を左手に見ながら、Watsonというドラックストアの方へ歩いていきましょう。
少し歩いたら、左には廃墟の映画館があります。その映画館の前で、大学生たちが並んでいる行列があります。その行列に並んで、「1 Sala Phra Kieo」と書いてあるピンクのチュラーロンコーン大学の小型シャトルバスが来たら、大学生たちと一緒に乗りましょう。
 しばらく乗った後で、Faculty of Arts」というバスのアナウンスが流れたら、バス停で降りてください。右手に歩いたら、左には真っ白な校舎が見えますその校舎が、BRKです。

=+=+=+=+=+=+=+=


     จริงอยู่ที่นอกจาก "ขึ้นรถป๊อป" จะ "เดิน" เข้าไปได้ด้วย แต่ส่วนตัวคิดว่าบอกทางอย่างใดอย่างหนึ่งน่าจะเข้าใจง่ายกว่า + ปกติเราไม่ได้ใช้BTSในการเดินทางมามหาลัยค่ะ แต่บางทีวันไหนที่เรียนแค่ช่วงบ่ายจะนั่งรถเมล์มาลงBTSสยามแล้วต่อรถป๊อป เลยคิดว่าน่าจะเขียนบอกทางพอไหว แต่ปรากฏว่าก็เขียนได้ผิดแบบกระจุยกระจายอยู่ดีค่ะ 5555 ถ้างั้นมาดูกันทีละจุดกันเลยดีกว่าค่ะ

     จุดแรกที่จะดูกันคือจุดที่เราเปลี่ยนเป็นสีชมพูค่ะ ตรงนี้เป็นจุดที่คนเรียนภาษาญี่ปุ่นชอบประมาทกันคือ "ผิดโครงสร้างประโยค" เพราะตอนต้นประโยคขึ้นเป็นคำนามก็ต้องจบด้วยคำนาม แต่เราดันไปจบคำกริยาเฉยเลย!!

รู้สึกเจ็บใจที่สุดในสามโลก ฮืออออออออออ


     เพราะเรื่องหน้าหลังต้องเป็นคำนามทั้งคู่คือก็อาจารย์ย้ำมาตั้งแต่สมัยเริ่มเขียนซาคุบุง แต่ยังเผลอใช้ผิดประจำก็ถือเป็นนิสัยเสียที่เราแก้ไม่หายซักทีค่ะ กล้าพูดเลยว่าเป็น化石化ที่เรามีปัญหามาหลายปีแล้วค่ะ ฮือ TvT ซึ่งบอกเลยว่าจากการที่อาจารย์ติทักมา ก็ทำให้ตระหนักเรื่อง化石化ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนSLAได้จริง ๆ เราอาจจะไม่สามารถแก้ได้ทันที แต่ก็ทำให้เรารู้ตัวและตระหนักว่า เฮ้ย หลังจากนี้เราต้องระวัง 

     ในส่วนของการแก้ อาจารย์เสนอมาว่าแก้ได้ 2 แบบ คือ1.แก้ให้ทั้งด้านหน้าด้านหลังเป็นคำนามไปเลย 2.แก้ด้านหน้าเป็น ここでด้านหลังคงรูป てください ไว้เหมือนเดิม ซึ่งส่วนตัวอยากแก้นิสัยเสียตัวเอง คงแก้แบบแรกตามที่อาจารย์เสนอแนะมาค่ะ

     จุดต่อมาคือคำว่า廃墟(はいきょ)ค่ะ เราเห็นว่าจนถึงก่อนหน้านี้เขาปล่อยลิโด้ทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไรเลยคิดว่าน่าจะใช้คำนี้ได้ค่ะ แต่อาจารย์ทักมาว่าถ้าใช้คำนี้ "เหมือนบ้านโบราณ" จริงอยู่ว่าคำนี้ส่วนมากใช้กับบ้านฟิลคฤหาสน์เก่า ๆ โบราณ ๆ แต่เอ๊ะ เราเคยเห็นคนญี่ปุ่นใช้คำนี้นะ แล้วถ้าใช้คำนี้ใช้กับโรงหนังจะเป็นอิมเมจยังไงกัน? เลยลองเสิร์ชดูก็ค้นพบว่า.......
     ......
     ... 
     . 

 怖っ!ホラー映画によく出てくるところじゃないの!?
(出典:https://www.pinterest.com/pin/832954893552563423/)     
  

     เอ่อ..........ลิโด้น่าจะร้างยังไม่ถึงขั้นเลเวลนี้ ถ้าใช้คำว่า廃墟 อิมเมจน่าจะผิดไปเลย ยิ่งทำให้คนญี่ปุ่นงงกว่าเดิมแน่ ๆ ค่ะ 5555555/ในเลขห้ามีน้ำตาอยู่ ก็ต้องเปลี่ยนคำมาเป็น 空きとなっている ตามที่อาจารย์เสนอแนะมาให้

     ส่วนสีแดงเลือดหมู เป็นจุดที่อาจารย์ทักว่า "ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป" เราเลยต้องกลับมาย้อนมองว่าทำไมอาจารย์ถึงบอกอย่างงั้นค่ะ

     จุดแรกคือ大学生たちが並んでいる行列があります。 ถ้ามานึกดี ๆ คือไม่ได้มีแค่นิสิตจุฬาที่ต่อแถวรอขึ้นรถป๊อป มีทั้งมนุษย์เงินเดือน เด็กม.ปลายต่อแถวเหมือนกันค่ะ เลยคิดว่าถ้าแก้เป็น 大学生や会社員などが並んでいる行列がありますน่าจะช่วยให้คนญี่ปุ่นอิมเมจภาพคนต่อแถวได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม(ซักนิดก็ยังดี 555)

     จุดที่สองคือ Faculty of Arts」というバスのアナウンスが流れたら ...ทุกวันนี้รถป๊อปในจุฬาจะมีเสียงประกาศแน่ ๆ แต่ถ้าคิดถึงกรณีที่ "ระบบในรถเสียแล้วไม่ประกาศออกมา" หรือ "ถ้าคนในรถคุยกันเสียงดังจนคนญี่ปุ่นไม่ได้ยินประกาศ" คนญี่ปุ่นหาจุดลงไม่ได้แน่ ๆ เผลอ ๆ หลงกว่าเดิมอีก (ทำไมอุปสรรคการบอกทางมันเยอะแบบนี้ TvT) แล้วนึกถึงในคาบที่อาจารย์บอกว่าควรมีบอก "จุดสังเกต" ก่อนลงน่าจะเข้าใจง่ายกว่า เพราะถึงไม่ได้ฟัง แต่ถ้าเห็นก็น่าจะลงถูก เราลองอ้างอิงจากคุณยามาดะที่เขียนให้ทุกคนอ่าน เลยลองแก้คร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ しばらく乗った後で、左に曲がってチュラーロンコーンの正門を通り、校内に入ります。右手に池を見ながら右にカーブし、直進して再度右カーブにさしかかるところが文学部のバス停です。


 หน้าตารถป๊อปเวอร์ชั่นปัจจุบัน
(出典:https://www.77kaoded.com/content/70678) 


     ส่วนจุดสุดท้ายที่ผิดคือมีปัญหาเรื่อง "ความไม่ชัดเจน" น่าจะเป็นปัญหาจากที่เราเคยชินกับการบอกทางตามความคุ้นชิน ซึ่งเราจะใช้ความเคยชินบอกทางกับคนที่เพิ่งมาครั้งแรกไม่ได้ เพราะอีกฝ่ายที่ถามเราไม่รู้ว่าตึกไหนคือBRK แล้วตรงคณะอักษรศาสตร์มีทั้งตึก BRK กับ MCS ทั้งยังมีตึกของคณะศิลปกรรมศาสตร์อีก ถ้าไม่บอกให้ละเอียด คนญี่ปุ่นได้งงกับเรื่องตึกแน่ ๆ ค่ะ แล้วพออ่านของคุณยามาดะที่มีบอก "จุดสังเกต" กับ "ลักษณะตึก" ก็รู้สึกว่าเออ เข้าใจง่ายขึ้นจริง ๆ โดยเฉพาะอันหลังที่รู้สึกเจ็บใจว่าตอนแรกมีพิมพ์ไปแล้ว แต่คิดว่าเยอะไปเลยตัดทิ้ง กลายเป็นว่าเราตัดสินใจพลาดค่ะ ฮือ เจ็บใจ TvT 

     จริงอยู่ว่าต้องบอกจุดสังเกต แต่จะบอกทุกอย่างไม่ได้ เราต้องเลือกบอกจุดเด่นจริง ๆ ซึ่งจุดที่ฟังฟีดแบคในห้องแล้วรู้สึกว่าควรใส่เป็นจุดสังเกตคือ "เทวาลัย"



 (ภาพจาก:https://www.gamingdose.com/news/)


    ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนญี่ปุ่นน่าจะ 共感力 ได้ แล้วทุกคนต้องสะดุดตากับเทวาลัยแน่นอน เพราะเทวาลัยใหญ่มากค่ะ 

    หลังจากที่วิเคราะห์เสร็จสรรพก็ลองแก้มาอีกรอบได้ประมาณนี้ค่ะ 



=+=+=+=+=+=+=+=
チュラ大のBRKへの行き方

まず、BTS Chong Nonsi(チョンナンシ)のホームに入って、「National Stadium」行きの電車に乗りましょう。Chong Nonsi、Sala Daeng(サラダーン)、Ratchadamri(ラーチャダムリ)Siam(サイアム)の順に各駅に停まるので、三つ目のSiam駅で下車してください。
次に、2番出口を出て、左方向を見ると、左手に「Center point」というデパートの2階入り口につながるところに出ます。そばに下への階段がありますから、降りてください。ここで注意して欲しいのが、そのまま直進せずに、Uターンすることです。そうしたら、Innisfreeという化粧品を売っている店を左手に見ながら、Watsonというドラックストアの方へ歩いていきましょう。
 少し歩いたら、左には空きとなっている映画館があります。その映画館の前で、大学生や会社員などが並んでいる行列があります。その行列に並んで、「1 Sala Phra Kieo」と書いてあるピンクのチュラーロンコーン大学の小型シャトルバスが来たら、大学生たちと一緒に乗りましょう。
 しばらく乗った後で、左に曲がってチュラーロンコーンの正門を通り、校内に入ります。直進して右カーブにさしかかるところが文学部のバス停です。ここで降りましょう。
  バス停の後ろに、中央部に穴が空いた形で、入口の屋根が三角形をしている校舎が見えます。上部にはタイ語で 「บรมราชกุมารี 」という表記があります。その校舎が、BRKです。また、向かい側にはタイ風のお寺のような低い建物があります。

=+=+=+=+=+=+=+=
     ก็มีอ้างอิงของคุณยามาดะพอสมควร แต่ก็รู้สึกว่า เออ พอเขียนแบบนี้แล้วดูเข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ/กราบไหว้งานที่คุณยามาดะเขียน

   ถ้าให้สรุปสิ่งที่ได้จากการทำタスク3ก็จะได้ประมาณว่า

    *1. ระวังโครงสร้างประโยค ว่าถ้าเกริ่นด้วยคำนามก็ต้องจบด้วยคำนาม (สำหรับเราอันนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ กลัวจะเป็น化石化ที่แก้ไม่ได้ TvT)

    2. การใช้คำ ต้องระวังเรื่องความหมายที่อยากจะสื่อ อาจจะไม่ตรงกับความหมายของคำที่เลือกมาใช้

    3. ข้อมูลที่บอกอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป จริงอยู่ที่โดยพื้นฐานอาจจะเป็นอย่างที่เราบอก แต่ไม่ได้เป็นแบบนั้น "เสมอ" เพราะฉะนั้นเราควรจะระวังเรื่องข้อมูลให้มาก ควรจะบอกข้อมูลแบบไหนที่อีกฝ่ายต้องเจอแน่ ๆ

    4. ความไม่ชัดเจน ยิ่งอีกฝ่ายไม่เคยไป เราต้องบอกให้ละเอียด ยิ่งอธิบายให้เห็นภาพได้ยิ่งดีเพื่อให้อีกฝ่ายไม่งง

    5. ย่อหน้า ประเด็นนี้อาจจะไม่ได้พูดตอนวิเคราะห์เพราะว่าเรามีแก้ไปตั้งแต่แรก ๆ แล้วค่ะ แต่ถ้าให้เล่าอธิบายอย่างรวบรัดคือตอนแรกสุดเราไม่ได้ย่อหน้าเลยค่ะ แล้วรู้สึกว่าไม่อยากอ่านเลย ดูลายตาด้วย การมีย่อหน้าจะช่วยให้การบอกทางที่เราเขียนอ่านง่ายขึ้นมากเลยค่ะ!

    สำหรับเรา ระหว่างทำタスクนี้ ถ้าให้นิยามด้วยรูปรูปหนึ่งคงเป็นรูปนี้ค่ะ





   ไม่ใช่สะดุดล้มระหว่างพิมพ์แต่อย่างใด แต่รู้สึกว่ายากจนสะดุดล้มไปหลายรอบ ทุกครั้งที่มานั่งแก้ก็จะยิ่งรู้สึกว่าทำไมการบอกทางมันยากจังเลย 5555555555555/ในเลขห้ามีน้ำตาที่ไหลอย่างจริงจัง

   แต่ถ้าถามก็รู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ฝึก ว่าเราควรจะเขียนยังไงให้อีกฝ่ายสามารถเดินทางไปได้จริง ไม่ใช่แค่เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น ไม่ว่าจะภาษาไทยหรือภาษาอื่น ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ตอนใช้บอกทางได้ด้วย 

   ส่วนในแง่ของการใช้ภาษาคือจะเห็นได้ชัดเลยว่าเราพลาดการใช้ภาษายังไง การเลือกใช้คำยังดูใช้คำง่ายไปมั้ย หลากคำหรือเปล่า โครงสร้างประโยค ฯลฯ

   หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะเขียนบอกทางให้คนรู้จักนะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ!  

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Self-Study1: 辞書は、言葉の海を渡る船

      สวัสดีค่ะทุกคน! วันนี้จะขอลัดคิวมาพูดถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้ผ่านอนิเมเรื่องหนึ่งค่ะ!

      ย้อนไปเมื่อคาบแรกที่เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาภาษาศาสตร์ประยุกต์ อาจารย์มีพูดถึงศาสตร์ต่าง ๆ ที่แตกย่อยออกมากจากภาษาศาสตร์ประยุกต์ค่ะ ซึ่งอาจารย์มีพูดถึง ศาสตร์การทำพจนานุกรม(辞書学)แล้วอาจารย์ก็มีพูดแซวว่าใครอยากทำพจนานุกรมมั้ย? แน่นอนว่าเราส่ายหัวแรงมาก 5555 แต่เราส่ายหัวไม่ใช่เพราะว่าเห็นเป็นงานน่าเบื่อนะคะ แต่รู้ว่าตัวเองทำไม่ไหว เพราะงานทำพจนานุกรมคือ "งานละเอียดและใช้เวลาเยอะมาก"

      ถามว่าเรารู้ได้ไง? เพราะเราได้ดูอนิเมเรื่อง 舟を編む(ふねをあむ) ค่ะ เลยมีโอกาสได้รู้รายละเอียดการทำพจนานุกรมค่ะ 


 โปสเตอร์โปรโมทอนิเมะของออฟฟิเชียล


     ถ้าถามว่าเป็นเนื้อหาประมาณไหน เรามีตัวอย่างมาให้ดูกันค่ะ :)





     舟を編むเดิมทีเป็นนิยายแต่งโดย三浦 しをん(みうら しをん) ได้รับการตีพิมพ์ปี2011 และได้ทำเป็นอนิเมชั่นในปี2016ค่ะ

     ส่วนที่มาชื่อเรื่อง อาจารย์มิอุระตั้งใจให้ชื่อเรื่องมีความหมายว่า  辞書は言葉の海を渡る舟、編集者はその海を渡る舟を編んでいく」 ทำไมถึงเปรียบเป็นแบบนี้ เราจะไม่ขอพูดถึงนะคะ แต่ให้ทุกคนไปดูกันเอง มี11ตอนจบค่ะ---(ขายตรงสุด)

     ถ้าให้เล่าย่อ ๆ คือ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกับแผนกพจนานุกรมของสำนักพิมพ์เกมบุมีโปรเจกต์ทำพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นเล่มใหม่ชื่อ 大渡海(だいとかい)ขนาด中型ทว่าหัวหน้าแผนกใกล้เกษียนจึงต้องรีบหาคนมาสานโปรเจกต์ต่อ ซึ่งได้馬締光也(まじめみつや)พระเอกของเรื่องผู้พูดไม่ค่อยเก่งจากฝ่ายขายที่มีความสามารถเกี่ยวกับคำศัพท์สูงมากมารับหน้าที่ต่อเพื่อให้大渡海ออกมาเป็นเล่มให้ได้

     ถ้าดูจากโปสเตอร์ก็คงพอเดาได้แล้วว่าพระเอกของเราก็คือตาแว่นคนตรงกลางนั่นแหละค่ะ 555





     ทุกคนอาจจะงง ๆ ว่าทำไมมาจิเมะนั่นถึงได้มีความสามารถเกี่ยวกับคำศัพท์สูง ทั้ง ๆ ที่เขาพูดไม่เก่งใช่มั้ยคะ? ถ้าอ้างอิงข้อมูลตัวละครจากต้นฉบับนิยายของคุณมิอุระก็ค้นพบว่า...
  

มาจิเมะเรียนปริญญาโทด้านภาษาศาสตร์ค่ะ!!!
 
     

     ถ้าให้ยกตัวอย่างการร่าย(?)ภาษาศาสตร์สไตล์มาจิเมะก็ขอยกฉากหนึ่งจากตอนแรกสุดของเรื่องละกันค่ะ จะเป็นฉากที่นิชิโอกะ(หนุ่มหัวน้ำตาลในโปสเตอร์)พูดกับฮาจิเมะว่า จะเป็นคนจริงจังหรือเป็นคนตรง ๆ ก็เอาเถอะ แต่หัดดูสถานการณ์(空気読め)ซักหน่อยเถอะ




     ส่วนมาจิเมะที่ได้ยินก็สะดุดกับคำว่า空気読めก็พูดไว้ตามนี้ค่ะ


 「空気」...ということは西岡さんのおっしゃる空気は呼吸するものではなく、場の状況、雰囲気を表す際に用いる「空気」ですね。「空気が重い」 という使い方もありますね。居心地が悪い。その場を立ち去りたいような思いに駆られること。


     จากบทพูดสั้น ๆ ของมาจิเมะ จะเห็นได้ถึงว่ามาจิเมะนึกความหมายของคำว่า空気ที่ถ้าเปลี่ยนคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่ตามหลังแล้วความหมายจะเปลี่ยนไปในทันที ซึ่งการนึกความหมายของคำศัพท์หนึ่งที่มีความหมายได้ในชั่วพริบตาไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไป จะทำได้ แต่กรณีมาจิเมะที่เรียนด้านภาษาศาสตร์มาโดยตรงก็น่าจะคลุกคลีเรื่องคำศัพท์แทบจะตลอดเวลา(หมายเหตุ:ในห้องมาจิเมะมีแต่หนังสือและพจนานุกรมค่ะ...)แต่ที่แน่ ๆ คือมีความรู้เกี่ยวกับภาษาลึกกว่าคนทั่วไปแน่นอน เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าแปลกที่เขาสามารถนึกความหมายออกมาได้ไวกว่าคนปกติ และจากจุดนี้เองที่ทำให้เราตระหนักได้ว่าภาษาศาสตร์เข้ามามีบทบาทกับการทำพจนานุกรมได้อย่างไรเลยค่ะ

     ต่อจากนี้จะขอพูดถึงงานที่มาจิเมะต้องทำนะคะ แต่จะขอพูดถึงแค่บางส่วน อย่างแรกที่จะขอยกตัวอย่างคือ "การรวบรวมคำศัพท์" ทุกประเภท ไม่ว่าจะคำศัพท์ที่ปรากฏตามนิตยสารหรือบทสนทนาในชีวิตประจำวัน รวมถึงจดบันทึกประโยคตัวอย่างลง用例採集カード


 หน้าตา用例採集カード


     นอกจากนี้จะมี "การตรวจเทียบเช็คคำศัพท์" จากพจนานุกรมขนาด中型ที่เป็นขนาดเดียวกับที่大渡海จะทำ โดยเทียบทั้งหมด3เล่ม โดยมีหลักเช็คว่าถ้าคำ ๆ นั้นมีปรากฏทั้ง3เล่มให้วงกลมซ้อนกัน2วง ถ้าปรากฏแค่2เล่มก็1วง ถ้าปรากฏเล่มเดียวก็วาดเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งการเช็คนี้สามารถบอกได้ว่าคำไหนยังพบเจอการใช้อยู่หรือแทบไม่เจอแล้ว เหมือนเปิดcorpusเช็คเรื่องคลังศัพท์นั่นแหละค่ะ แต่อันนี้จะเป็นเปิดเทียบกับพจนานุกรม3เล่มที่เราต้องเปิดไล่เช็คเองทีละคำ(แค่คิดก็เหนื่อยแทนมาจิเมะแล้ว5555)


พอเช็คเสร็จ ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้ค่ะ


     อันนี้ก็จะเป็นงานช่วงแรก ๆ ที่มาจิเมะทำค่ะ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นงานไม่ยากนะคะ แต่ทุกคนลองนึกดูนะคะว่าตั้งแต่ตัว あ~んมีตั้งกี่ตัวแล้วมีคำศัพท์แตกปลีกย่อยอีกเพียบ ที่พีคคือ 大渡海 มีแพลนจะบันทึกคำศัพท์ลงไป230,000คำค่ะ!!! แถมหัวหน้าแผนกยังพูดอีกว่างานทำพจนานุกรมเล่มนึงทำกันเป็น10ปีขึ้นไป(ในเรื่องปาไป13ปีด้วย...)




     บอกเลยว่าอันนี้แค่ยกตัวอย่างงาน "เบื้องต้น" ที่มาจิเมะเจอนะคะ ดูแค่นี้ก็เข้าใจขึ้นมาระดับนึงเลยว่าทำไมพจนานุกรมถึงได้ขายราคาแพ๊งแพง T T กว่าจะมาได้แต่ละคำคือไม่ง่ายเลย ต้องอาศัยความอดทนกับความละเอียดด้านภาษาในการทำงานมาก เหนืออื่นสิ่งใดคือใช้เวลาเยอะมากกกกกกกกกก(เอาก.ไก่ไปล้านตัว) ต้องบอกว่ายิ่งเห็นยิ่งมั่นใจว่าตัวเองทำไม่ได้มากกว่าเดิมแน่ ๆ 55555555

     นอกจากนี้ในเรื่องจะมีประเด็นเรื่องของพัฒนาการตัวละคร ปัญหาด้านในแผนก กระบวนการเช็คงาน ฯลฯ ขอรับรองเลยว่าเรื่อง 舟を編む สนุกมาก ๆ แนะนำให้ทุกคนไปดูจริง ๆ ค่ะ(ขายตรงรอบ2) 

     หวังว่าทุกคนจะชอบนะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ!

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Week2:魅力的な自己紹介ってどんな感じ?

     สวัสดีค่ะทุกคน! วันนี้เราก็ยังคงวนเวียนอยู่ในเรื่องแนะนำตัวเองอยู่เช่นเคยค่ะ 555 แต่เพิ่มเติมว่าจะแนะนำตัวเองยังไงให้ดู 「魅力」 ถ้าพูดเป็นภาษาไทยก็คงเป็นแนะนำตัวยังไงให้ “มีเสน่ห์” หรือ “น่าดึงดูดใจ”
 
     บล็อกที่แล้วจะเน้นการแนะนำตัวแบบพูดยังไงให้เนื้อหาต่อกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่าถึงจะพูดได้ไหลลื่นก็ไม่ได้ช่วยให้คนอื่นจำเราได้จากการแนะนำตัวเลยค่ะ(...)

     อาจารย์ก็เลยให้ลองเขียนแนะนำตัวเองอีกรอบค่ะ แต่ว่าให้เลือกสถานการณ์ว่าจะเอาไปใช้ที่ 合コン(นัดบอด) หรือ就職活動(หางาน) แล้วเขียนแนะนำตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เลือกค่ะ

     เราเลือก 就職活動 ค่ะ เพราะนึกสภาพตัวเองไป就職活動ออกมากกว่า合コン 5555 

     ก่อนเขียน อาจารย์ก็สอนเทคนิคว่าควรใส่ "Episode" หรือ "สภาพBefore&After" ลงไปด้วย ก็จะช่วยทำให้คนอื่นประทับใจและจดจำเราได้มากขึ้นค่ะ!   

     นอกจากนี้ อาจารย์ก็มีแนะนำเรื่องแกรมม่าญี่ปุ่นด้วยค่ะ โดยปกติเราจะบอกแค่ว่า …ができます。ซึ่งหลาย ๆ คนฟังก็จะรู้สึกว่า "แล้วไงต่อหรอ?" แน่ ๆ อาจารย์ก็เลยแนะว่าลองเขียนว่าได้เรียนรู้หรือจดจำอะไรได้จากเหตุการณ์ที่เรายกขึ้นมาจะดีกว่า เช่น を覚えました。を知りました。

     พอฟังเทคนิคต่าง ๆ ดูแล้วก็ได้ลองใช้เทคนิคตามที่อาจารย์สอนดูค่ะ ที่เขียนส่งอาจารย์ไปก็ตามข้างล่างนี้เลยค่ะ


=+=+=+=+=+=+=+=

 私はどちらかと言うと、「努力家」だと思います。小さい頃から周りの人に音楽の才能がないとよく言われていましたが、小学4年生のとき、吹奏楽団に入り、ユーフォニアムという金管楽器を担当させました。吹奏楽団に入ったみんなが、顧問先生に楽器の吹き方を教えてもらったんですが、同期に入ったメンバーほどなかなか上手く吹けない私はとてもプレッシャーを感じ、たまに一人でこっそり泣いたりしました。しかし、どんなに泣いても、上手く吹けるようになるわけではないので、「練習するしかない!」と思い、暇な時間があったら一人で練習したり、他のメンバーに一緒に練習してもらったりしました。練習し続けた結果、顧問先生に褒められほど上手く吹けるようになりました。音楽の才能がないと言われても、上手く吹けるようになりたいという目的を達成するために、努力を惜しまないことの大切さを知りました。このことは社会人になっても活かして生きたいです。

=+=+=+=+=+=+=+=


     ที่เราเปลี่ยนสีกับไฮไลท์คือจุดที่อาจารย์คอมเมนท์ว่าควรแก้ค่ะ อาจารย์บอกว่าลองให้ไปนั่งนึกดูก่อนว่าควรแก้ยังไง

     ถ้าดูตรงที่เราเปลี่ยนเป็นสีเขียวก็ทำให้เราค้นพบว่า.........
     .....
     ...
     .

     เราลืมนึกถึงความเป็น書き言葉(ภาษาเขียน)อย่างเต็ม ๆ เลยค่ะ!!!!!

 (ตอนที่นึกได้คือช็อกมาก สภาพเหมือนน้องหมีด้านบนเลยค่ะ ฮืออออ)


     ตอนที่เขียนแนะนำตัวรอบนี้ เราดันไปยึดหลักความคิดหนึ่งว่า  "เออ เราต้องเอาไปพูดนะ บางจุดเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้แหละ" แต่ลืมไปเลยว่า สถานการณ์ที่เราเลือกคือ 「就職活動」 ซึ่งถ้านึกถึงหลัก"TPO" คือผิดหลักเต็ม ๆ เลยค่ะ

     ถ้านึกถึงสถานการณ์เวลาสมัครงานที่ต้องมีความทางการ+สุภาพ เพราะฉะนั้นเราจะใช้ภาษาพูดกับภาษาเขียนผสมกันไม่ได้ ต้องเป็นภาษาเขียนไปเลย เพราะฉะนั้นความผิดพลาดในครั้งนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่า เราควรระวังเรื่องการใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียนให้มาก ๆๆๆ TvT

     ส่วนตรงที่เราทำสีแดงไว้คือ เราลืมนึกถึง.........

「視点」 

     ยอมรับว่าจุดนี้สะเพร่าเองที่ลืมนึกว่าประธานของประโยคคือใครเลยผันตามความเคยชินเป็นさせた แล้วส่งอาจารย์โดยไม่เช็คให้ละเอียดว่าที่ผันมันไม่ตรงกับประธานของประโยค(...)

     ประเด็นนี้จะชวนให้นึกถึงเรื่อง 受身 ที่เรียนในคาบที่ผ่านมาเลยค่ะ ว่า受身ช่วยรักษา 視点 กับ ความ客観的 ของประโยคที่ใช้ ซึ่งส่วนตัวว่าไม่ว่าจะ 使役 หรือ 使役受身 ก็ช่วยรักษา視点ให้เข้าใจง่ายเหมือนกัน เพราะผันผิดที มุมมองที่เล่าเรื่องเปลี่ยนไปมาก ทำคนอ่านหรือคนฟังงงแน่ ๆ ค่ะ 

     อย่างกรณีของเราคือ ถ้าคนญี่ปุ่นมาคนอ่านคงงงแน่ ๆ เลยว่า... 

"อ้าว ไม่ได้พูดถึงตัวเองหรอ?" 
...
..
.


     ส่วนตรงที่เราทำสีชมพูไว้ เราจะไม่พูดอะไรมาก เพราะอันนี้รู้ตัวว่าผันผิดแต่ลืมกลับมาแก้ (รอบนี้โชว์ความสะเพร่ารัวๆ )
 
     ตอนนี้จะขอมาพูดในส่วนสุดท้ายที่เราไฮไลท์สีส้มไว้ค่ะ ที่เราไฮไลท์เพราะว่า...

อาจารย์ชมว่าเขียนดีมากล่ะค่ะ!!! 


     แต่ ๆๆๆๆๆ อาจารย์ก็มีคอมเม้นท์มาว่าเราควรเสริมอีกนิดนึงเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ นั่นก็คือตรง目的を達成するために、努力を惜しまないこと อาจารย์ก็แนะนำว่าควรเพิ่ม 練習することで ด้านหลังためにเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า "จากการฝึกฝน....ทำให้..." ซึ่งส่วนตัวก็เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เพราะตอนที่เขียนก็รู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมรู้สึกขาด ๆ คนอ่านจะงงมั้ยนะ? มาอ่านคอมเม้นท์อาจารย์ทีถึงกับบางอ้อเลยค่ะ 5555555

     เพราะฉะนั้นถ้าลองแก้ตามที่อาจารย์คอมเม้นท์มาก็จะได้ตามนี้ค่ะ


=+=+=+=+=+=+=+=

 私はどちらかと言うと、「努力家」だと思います。小さい頃から周りの人に音楽の才能がないとよく言われていましたが、小学4年生のとき、吹奏楽団に入り、ユーフォニアムという金管楽器を担当させられました。吹奏楽団に入ったみんなが、顧問先生に楽器の吹き方を教えてもらいましたですが、同期に入ったメンバーほどなかなか上手く吹けない私はとてもプレッシャーを感じ、たまに一人でこっそり泣いたりしました。しかし、どんなに泣いても、上手く吹けるようになるわけではないので、「練習するしかない!」と思い、暇な時間があれば一人で練習したり、他のメンバーに一緒に練習してもらったりしました。練習し続けた結果、顧問先生に褒められほど上手く吹けるようになりました。音楽の才能がないと言われても、上手く吹けるようになりたいという目的を達成するために練習することで、努力を惜しまないことの大切さを知りました。このことは社会人になっても活かして生きたいです。

=+=+=+=+=+=+=+=


     พอแก้แล้วรู้สึกว่า การแนะนำตัวที่เราเขียนดูเป็นทางการ+คนญี่ปุ่นน่าจะเข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ 5555 ก็ถ้าให้สรุปสิ่งที่ได้จากการเขียนแนะนำตัวรอบนี้คือ

     1. การใส่ "Episode" หรือ "สภาพBefore&After" ช่วยให้การแนะนำตัวของเราดูมีอิมแพคมากขึ้น 

     2.  การใช้を覚えました。หรือを知りました。เป็นการบอกผลลัพธ์ว่าเราได้จดจำหรือเรียนรู้อะไรจากเรื่องราวที่ยกขึ้นมา ส่วนตัวจะรู้สึกว่าเหมือนเป็นまとめสิ่งที่เราอยากจะสื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ๆ ในหนึ่งประโยคเลยค่ะ

     *3. เวลาแนะนำตัวควรใช้ 書き言葉 เพื่อความสุภาพ(สำหรับเรา ข้อนี้ถือว่าเรื่องที่ต้องระวังมาก ๆ เลยค่ะ ฮือ T_T)

     4. ระวังสับสน視点ที่ใช้เล่าเรื่อง กันคนอ่านงง(รวมถึงตัวคนเขียนเองด้วย)


      บอกเลยว่าทั้งชีวิตนี้ไม่เคยคิดว่าการแนะนำตัวจะเป็นอะไรที่ยากขนาดนี้มาก่อน 555555 แต่พอมาทำกิจกรรมก็ยิ่งรู้สึกว่า


"อะไรที่คิดว่าง่าย มันไม่ง่ายอย่างที่คิดและควรใส่ใจมากกว่านี้"

    หวังว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากอาจารย์และปัญหาที่เจอจากการลองทำกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่แวะเวียนเข้ามานะคะ

    สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ :)